ปัจจัยพยากรณ์ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ของข้าราชการครูหลังเกษียณ อายุราชการ ชมรมครูบำนาญอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • จิระภา ขำพิสุทธิ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ปัทมา สุพรรณกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพตนเอง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ครูหลังเกษียณอายุราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ของข้าราชการครูหลังเกษียณอายุราชการ ชมรมครูบำนาญอำเภอเมือง จังหวัดตาก เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 จากตัวอย่างจำนวน 150 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.3 เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 60–69 ปี มากที่สุด พบร้อยละ 86.0 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก และ
มีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในระดับมากเพียงพอ รองลงมามีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองในระดับเพียงพอ ผลการวิเคราะห์พบ 4 ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ของข้าราชการครูหลังเกษียณอายุราชการ พบการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีอำนาจ
การพยากรณ์สูงที่สุด (β = 0.341, p-value = <0.001) รองลงมาได้แก่ อายุ (β = -0.256, p-value <0.001) การสนับสนุนด้านกำลังใจ (β = 0.218, p-value = 0.005) และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพ (β = 0.200, p-value = 0.003) ตามลำดับ ตัวแปรทั้ง 4 ตัว ร่วมพยากรณ์ความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ของข้าราชการครูหลังเกษียณอายุราชการ ได้ร้อยละ 42.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

จิระภา ขำพิสุทธิ์, วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

อาจารย์

References

0กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563; 2564: 169-76.

พยาม การดี, พรรณพิมล สุขวงษ์, ดาว เวียงคํา. การรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตชนบทภาคเหนือตอนบน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2559; 24: 40-51.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข 2560; 11: 26-36.

อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, สาวิตรี ทยานศิลป์. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561; 7: 76-95.

กาญจนา เฟื่องฟู. ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2565; 16: 96-110.

Schaffer, M. A. Social support. In Peterson, Bredow T. S. (Ed.). Middle range theories, Application to nursing research. 1 st ed. Philadelphia: Lippincott: Williams& Wilkin; 2004.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary healtheducation and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15: 259–67.

Kline, R. B. Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: The Guilford Press; 2016.

Best, John W. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice; 1981.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Pender, N.J. Health Promotion in Nursing Practice 2nd ed. New York: Appleton Century Crofts; 1987.

Toci E, Burazeri G, Jerliu N, Sorensen K, Ramadani N, Hysa B et al. Health literacy, self-perceived health and self-reported chronic morbidity among older people in Kosovo. Health Promotion International 2015; 30: 667–74.

จงกลนี ขันอาสา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในชุมชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลกองทัพบก 2563; 21: 109-20.

ศิริพร จริยาจิรวัฒนา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของประชาชนไทยในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565; 45: 25-38.

Stonska Z, Borowiec AA, Aranowska AE. Health literacy and health among the elderly: status and challenges in the context of the Polish population aging process. Anthropological Review 2015; 78: 297-307.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6: 22-34.

กนกวรรณ อังกสิทธิ์, อภิชาต ไตรแสง, เฉลิมชัย ปัญญาดี, สมคิด แก้วทิพย์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2563; 11: 267-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16