ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลยโสธร
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การดูแลหญิงตั้งครรภ์, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลยโสธร โดยใช้แนวคิดการดูแลตนเองของ โอเร็ม และแนวคิดพฤติกรรมสุขภาพ ด้านแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ 2) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล สามารถชะลอการคลอด ทำให้ตั้งครรภ์ได้จนครบกำหนด หรือใกล้ครบกำหนดมากขึ้น จากเดิมร้อยละ 54.28 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85.71 เมื่อเทียบกับในช่วงระยะเดียวกันในปี พ.ศ. 2565 การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลช่วยให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองระดับมากร้อยละ 75.0 พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจโดยรวมที่ระดับมากที่สุด ( = 4.23, S.D. = 0.43)
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยหญิงตั้งครรภ์ที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมมีผลต่อการลด หรือทุเลาอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ และการติดตามเยี่ยมจากพยาบาลหลังจำหน่ายสามารถส่งเสริมความมั่นใจให้หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลตนเองให้ดียิ่งขึ้น
References
ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์และการคลอดก่อนกำหนด. ใน: ธีระ ทองสงบรรณาธิการ. สูติศาสตร์. เรียบเรียงครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ลักษมีรุ่ง; 2564. หน้า 247-259.
ศิริวรรณ แสงอินทร์. การพยาบาลมารดาที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 22(1): 27-38.
ศศิกานต์ กาละ. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด.ใน: สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2. เล่ม 1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.
ทิพย์วรรณ ประสาสน์ศักดิ์, วิรัชนี สุขวัฒนานนท์, ศศิธร อินทุดม. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2563; 28: 25-35.
ฐิรวรรณ บัวแย้ม, เพียงบุหลัน ยาปาน, สุจิตตรา พงศ์ประสบชัย. การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2562; 25(3): 243-254.
กรมอนามัย สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.m0ph.go.th/th/department-yearly report/download/
เวชระเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิด. (2565). รายงานประจำปี 2565. กลุ่มงานห้องคลอด.โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร.
กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และวางแผนครอบครัว. (2565). แนวทางในการปฏิบัติงาน (Clinical Practice Guideline). โรงพยาบาลยโสธร จังหวัดยโสธร.
สุพัตรา ปิ่นแก้ว และคณะ. ผลของโปรแกรมการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่ออัตราการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการคลอดก่อนกำหนด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2557; 22: 58-71.
รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ และคณะ. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะ ครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552; 27: 39-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น