ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • นิตยา ยวงเดชกล้า โรงพยาบาลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • อภิญญา ตันเจริญ โรงพยาบาลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคซึมเศร้า, รูปแบบการดูแล

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพโดยรวม การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า และผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ซึมเศร้าระดับเล็กน้อย และปานกลาง 32 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา 6 ครั้งๆ ละ 1.30 ชั่วโมง/สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q ประเมินก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการศึกษาระหว่าง 2 กลุ่ม โดยสถิติ Chi-square และ paired sample t-test

ผลวิจัย พบ ผู้สูงอายุเพศหญิงซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศ ความเพียงพอของรายได้ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา มีคะแนนภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งในระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล คะแนนภาวะซึมเศร้าในระยะหลังทดลอง และในระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน

โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษามีประสิทธิผลในการลดอาการซึมเศร้าได้ บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษามาประยุกต์ใช้ เพื่อลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ระบบคลังข้อมูลสถิติ (Statistical Data Warehouse System) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 4 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nsodw.nso.go.th/dwportal/Item

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ[อินเตอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 4 พ.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/know/side/1/1/1962

World Health Organization. Mental Health of older adults [Internet]. 2017 [cited 2023 Dec 5]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital. Report of patients with depressive disorder who access the medical service [Internet]. 2021 [cited 2023 Nov 30]. Available from: https://thaidepression.com/www/report/main_report/

มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 58 (พิเศษ): 18-29.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้าปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 3: 24-31.

Bangpakong Hospital, Chachoengsao Province (TH). Information of elderly health in the Bangpakong Hospital, fiscal year 2021. Chachoengsao: Chachoengsao Province Public Health Office; 2022. (in Thai)

Yamane, T. (1967) Statistics: An Introductory Analysis.2nd Edition, Harper and Row, New York.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาว, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถามฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 4: 321-34.

10.Wongparakan T, Wongpakaran N. Revised Thai Rosenberg self-esteem scale. [Internet]. Chiangmai: Faculty of medicine, Chiangmai university 2022 [Cited 2023 Feb 1] Available from: http://www.pakaranhome.com/index.php?lay=show&ac=article&ld=2147596642

พวงผกา ชื่นแสงเนตร. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองและความพึงพอใจในชีวิตผุ้สูงอายุ: กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2538.

Anderson CM, Hogart GE, Reiss DJ. Family treatment of adult schizophrenic patients: a psycho-educational approach. Schizophr Bull. 1980; 6(3): 490-505.

มินตรา สาระรักษ์, ญฌา จันทร์ทรง, สุพรรษา ชูตระกูลกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน : การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16; วันที่ 11-12 กรกฎาคม 2565; ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัย ; 2565.หน้า 241-51.

อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(1): 25-33.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(2): 69-82.

ธมลวรรณ ฉัตรเงิน. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2564; 12(2): 152-66.

ชุติไกร ตันติชัยวนิช. การศึกษาตระหนักรู้ในคุณค่าในตนเองในจังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

พงษ์ศักดิ์ อุบลวรรณี, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว, นุชนาถ บรรทุมพร. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษา ต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย. พุทธชินราชเวชสาร 2560; 3: 342-9.

Casañas R, Catalán R, del Val JL, Real J, Valero S, Casas M. Effectiveness of a psycho-educational group program for major depression in primary care: a randomized controlled trial. BMC Psychiatry [Internet].2012;12(1). Available from: //bmcpsychiatry.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-244X-12-230.

สุณิสา ศรีโมอ่อน, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การบำบัดโดยการแก้ปัญหาในการลดอาการซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่: การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารการพยาบาล 2554; 3: 107-16.

Rosenberg M, Kaplan HB. Social Psychology of the Self-Concept. Illinois: Harlan Davidson; 1982.

Beck AT, Rush, A. J., Shaw, B.F., & Emery, G. Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford Press; 1979.

วราพร ศรีภิรมย์, นฤมล จงจิตวิบูลย์ผล, กมลพร วรรณฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าในหน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลศิริราช. วารสารกองการพยาบาล 2565; 2: 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-15