ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในผู้เลี้ยงดูเด็ก
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย, พัฒนาการของเด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
วิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับภาวะโภชนาการ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงดูเด็กเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลหนองกุงศรี จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า แม่เป็นผู้เลี้ยงดู ร้อยละ 51.5 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยรวมระดับพอใช้ ร้อยละ 46.7 มีความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูลระดับสูง ร้อยละ 52.7 ความรอบรู้ด้านการตัดสินใจในระดับต่ำ ร้อยละ 46.7 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเด็ก ระดับการศึกษา อาชีพ ความพอเพียงของรายได้ ลักษณะเขตที่อยู่อาศัย และรายได้ของครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขควรมีการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย รวมถึงพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่สมวัยมากขึ้น
References
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136 ตอนที่ 56 ก; 2562. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/
DATA/PDF/2562/A/056/T_0005.PDF
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2561). สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี; 2561.
กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: Health Data Center: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ณิชกุล พิชาชาญ, กิตติพงษ์ สอนล้อม, ศิริภัททรา จุฑามณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กปฐมวัย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. Singburi Hospital Journal 2566; 31: 128-142.
ปิยภา สอนชม, ปิยะนารถ จาติเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลและสภาวะโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. Journal of The Dental Association of Thailand 2022; 72(2): 329-339.
อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย : กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เขตกองทัพภาคที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/
/m_news/35025/204972/file_download/41fe3e77eb3ae4c2cafc13c52979daf6.pdf
พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น, นิชนันท์ อินสา, อมรรัตน์ เนียมสวรรค์, แววตา ระโส, รัชดาวรรณ บุญมีจิว. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2021;14(3): 42-56.
กันยา โพธิปิติ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูหลักและครู/
ผู้ดูแลเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2565; 15(1): 28-50.
ธิโสภิญ ทองไทย, สุพัตรา บุญเจียม, ปิยะ ปุริโส, นิตยา ศรีมานนท์, ลัดดา ดีอันกอง.
ความรอบรู้สุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7. วารสาร
การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2566; 46(1): 105-115.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 16(2): 9-18.
กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2566.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Surveillance Developmental and Promotion Manual (DSPM). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2566.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์; 2561.
พรพญา เตปิน, วราภรณ์ บุญเชียง, ศิริตรี สุทธจิตติ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันโรคมือ เท้า ปากของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ลําปางเวชสาร 2561; 39(2): 72-80.
Azugbene E. Maternal Health Literacy and Maternal and Child Health Outcomes: A Review of the Literature. Annals of Global Health 2017; 83(1): 94.
ชัชฎา ประจุดทะเก, ประดับ ศรีหมื่นไวย, อัญชลี ภูมิจันทึก. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9:วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562; 13(31): 159-177.
นาฎอนงค์ แฝงพงษ์, ประภัสสร จันดี, ณัฐธิดา ปัญญาธนคุณ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียนของผู้เลี้ยงดูหลักและครูผู้ดูแลเด็ก ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก 2566; 24(1): 441-449.
วีระศักดิ์ ชลไชยะ. ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น ; Effects of Electronic Screen Media on Children and Adolescents. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2561.
Topothai T, Suphanchaimat R, Topothai C, Tangcharoensathien V, Cetthakrikul N, Waleewong O. Thailand Achievement of SDG Indicator 4.2.1 on Early Child Development: An Analysis of the 2019 Multiple Indicator Cluster Survey. Int J Environ Res Publ Health 2022; 19: 7599. https:// doi.org/10.3390/ijerph19137599.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น