ความท้าทายในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การดูแล, ส่งต่อ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย การรักษาเบื้องต้นจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นหนึ่งในทางรอดสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล การให้ยา Streptokinase ในโรงพยาบาลชุมชนช่วยเพิ่มโอกาสรอดสำหรับผู้ป่วย ในการให้ยา Streptokinase พยาบาลต้องมีความรู้และทักษะการเฝ้าระวังผลข้างเคียงจากการให้ยา การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจึงมีความท้าทายสำหรับพยาบาล การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2 ราย ดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 ชายไทย อายุ 74 ปี 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการจุกแน่นใต้ลิ้นปี่
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ ST-elevation ที่ Lead II, III, AVF แพทย์วินิจฉัยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ให้ยา Streptokinase ขณะให้ยาผู้ป่วยหมดสติ คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็น Ventricular Tachycardia แพทย์ทำ Cardioversion 100 Joule และส่งต่อไปที่โรงพยาบาลขอนแก่น
กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทย อายุ 75 ปี 4 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยเพลียความดันโลหิต 72/46 มิลลิเมตรปรอท คลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบ ST segment elevation lead V2-V4 แพทย์วินิจฉัยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันร่วมกับภาวะช็อกจากเหตุหัวใจ ให้ยากระตุ้นความดันโลหิตก่อน ให้ยา Streptokinase และส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างส่งต่อผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นได้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ 30 นาที ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างนำส่ง
References
ปารียา เกกินะ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต กรณีศึกษาในโรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร 2561; 1(1): 1-9.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตป ดีไซน์; 2563.
งานเวชระเบียนและสถิติ. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประจำปีงบประมาณ 2564-2566; 2566.
สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาหัวใจ.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.
กฤษฏา ศิริชัยสิทธิ์. Door-to-needle time สำหรับการให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556; 7: 313-319.
เกรียงไกร เฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สถาบันโรคทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุง ปี2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.
Rawles JM (GREAT Group). Quantification of the benefit of earlier thrombolytic therapy: Five-year results of the Grampian Region Early Anistreplase Trial (GREAT). J Am CollCardiol 1997; 30: 1181-1186.
American Heart Association. Highlights of the 2020 American Heart Association: Guidelines for CPR and ECC. [internet]. [cited 2024 Mar 4].Available from: https://cpr.heart.org/-/media/cpr-files/cpr-guidelines-files/highlights/hghlghts_2020eccguidelines_thai.pdf.
เกรียงไกร เฮงรัศมี. สถานการณ์ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. นนทบุรี: สุขุมวิทย์การพิมพ์; 2555.
Heidi L. Lujan, Stephen E. Di Carlo. Reperfusion induced sustained ventricular tachycardia, leading to ventricular fibrillation, in chronically instrumented, intact, conscious mice. Physiological report. Pub Med Central; 2014.
ณรงค์กร ชัยวงศ์ และปณวัตร สันประโคน. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤต.วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2562; 14(1): 43-51.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียกสูง (ST-elevation myocardial infarction: STEMI) ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น