ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • อริสรา ล้ำจุมจัง สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • อินทุอร อินทุอร สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ชวลิต กิจพิบูลย์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • พรอนันต์ กลิ่นสุหร่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย
  • ณัฐพร มีสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอนหลับ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวนทั้งสิ้น  371 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม-มีนาคม 2566 ด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล ปัจจัยด้านร่างกาย ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพการนอนหลับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบ
ไคสแควส์ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับในระดับดี ร้อยละ 38.30 และมีคุณภาพการนอนหลับในระดับไม่ดี ร้อยละ 61.70 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจและอารมณ์(ความเครียด) ปัจจัยด้านร่างกาย และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรของคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 21.20 (R2= 0.212, p-value< 0.05)

ผลการวิจัยนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาวิธีป้องกันหรือลดปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีและ
มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรผู้สูงอายุใประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาประชากร/ประชากรสูงอายุ/2564/full_report_64.pdf

ชัยรัชต์ จันทร์ตรี, พรรณี ทับธานี, ธวัชชัย แคใหญ่, บรรณาธิการ. คู่มือการนอนหลับเพื่อสุขภาพที่ดี. กรุงเทพฯ: กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

อัญชลี ชุ่มบัวทอง. คุณภาพการนอนหลับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ. ว. วิชาการสาธารณสุข 2558; 5: 834-842.

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. ว. สภาการพยาบาล 2564; 2: 18-31.

สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, พรรณภา เรืองกิจ, ณัฏฐินี ชัวชมเกตุ. คุณภาพการนอนหลับในปัจจัยรบกวน วิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับแบะปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. ว. จิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2564; 11: 10-24.

วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดา ภาโชติดิลก, นิตยา ทองหนูนุ้ย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ. ว.คณะวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2566; 2: 1-18.

กัมปนาท สุริย์, กุลนิดา สุนันท์ศิริกูล, กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์. คุณภาพของการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุชุมชนเขตเมืองจังหวัดนครสวรรค์. ว.วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 3 2565; 19(1): 15-27.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. เพศภาวะกับสุขภาพจิต. ว. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2553; 55: 109-118.

นุสรา ใจซื่อ, อภิญญา ธรรมแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลหนองแซงอำเภอบ้านแฮดจังหวัดขอนแก่น. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2564; 1: 81-94.

Feng F, Zhang Y, Hou J, Cai J, Jiang Q, Li X, Zhao Q, Li BA. Can music improve sleep quality in adults with primary insomnia? A systematic review and network meta-analysis. Int J Nurs Stud. 2018; 77: 189-196.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ลดความเสี่ยงโรคและตัวชี้วัดสุขภาพทีดี [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ-ลดความเสี่ยงโรคและตัวชี้วัดสุขภาพที่ดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน. รายงานการเข้ารับบริการ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2565 ]. เข้าถึงได้จาก: https://jhcis.moph.go.th

Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

Hoerger M. Participant dropout as a function of survey length in internet-mediated university studies: implications for study design and voluntary participation in psychological research. Cyberpsychol Behav Soc Netw. 2010; 13(6): 697-700.

อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. ว. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;3: 177-185.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. ว. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2540; 3: 123-132.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. สถิติความสัมพันธ์: เลือกใช้อย่างไร. ว.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 2565; 2: 11.

ลักขนา ชอบเสียง, พนัชญา ขันติจิตร, ขนุกร แก้วมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพ

การนอนหลับของผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุบลราชธานี. ว. การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2566; 41: 1-11.

กุสุมาลย์ รามศิริ. คุณภาพการนอนหลับปัจจัยที่รบกวน และการจัดการกับปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11