ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชูจิตร ชมภูพรรณ โรงพยาบาลทรายมูล
  • สุมาลัย สีลาดหา โรงพยาบาลทรายมูล
  • กรวิภา องอาจ โรงพยาบาลทรายมูล
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • กนกฉัตร สมชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 43 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามในผู้ป่วยที่เข้ารักษาแบบผู้ป่วยในทุกราย ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำขณะนอนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ภาวะสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Paired sample t test)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.80 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60.50 ภายหลังได้รับแนวปฏิบัติฯ พบว่า ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก2.12±0.20 เป็น 2.61±0.14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01โดยมีระดับ b การรับรู้อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจาก 200.58±94.208 mg/dl เป็น 151.07±65.30 mg/dl อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่าเฉลี่ยวันนอนลดลง  

ดังนั้น ควรนำแนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ ขยายผลในระดับจังหวัด

References

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/.

Health Data Center. รายงานตามตัวชี้วัด NCD Clinic Plus ปี 2565 ([อินเทอร์เน็ท]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/

page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022

โรงพยาบาลทรายมูล. สรุปผลงานประจำปี 2565. ยโสธร: โรงพยาบาลทรายมูล; 2565.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health Education Quarterly 1988; 15(2): 175-183

บุญชม ศรีสะอาด. หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์; 2535.

นิภาพร มีชิน และปัทมา สุริต. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ระยะเวลาที่นอนรักษาในโรงพยาบาล และ

การกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ. รายงานวิจัย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก, วรากร เกรียงไกรศักดา. ผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองไผ่. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;11(1): 36-51.

ณิภารัตน์ บุญกุล และรุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการจูงใจเพื่อป้องกันโรค และการสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. ศรีนครินทร์เวรสาร 2555; 27(4): 366-372.

กนกพร ไพศาลสุจารีกุล, ประทุม สร้อยวงศ์, พิกุล นันทชัยพันธ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสําหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557; 41(5): 26-34.

อัจฉราภรณ์ จำรัส และทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการพยาบาลสําหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2563; 47(1): 280-288.

บำเหน็จ แสงรัตน์. การจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย. 2559; 3(1): 40-50.

ปราณี เกตดี และปัทมา สุริต. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะรับไว้ในโรงพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางคลินิก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2562; 42(3): 21-30.

วิไลวรรณ สุพรรณ. การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ: กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566; 8(3): 608-615.

Coats A, Marshall D. Inpatient hypoglycaemia: a study of nursing management. Nurs Prax N Z. 2013 Jul; 29(2): 15-24.

บุญเตือน วัฒนกุล, ศรีสุดา งามขำ. การรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานแบบที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557; 32(3): 61-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11