ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใหญ่ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ฐิรพร ไพศาล สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุพัชชา ศรีนา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • สุพัตรา บุตราช สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ศึกษา อุ่นเจริญ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • มนฑิญา กงลา คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

โรคเรื้อรัง, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใหญ่ อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 195 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ แลสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 62.1 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น อายุ 60-69 ปี
ที่ช่วยเหลือตนเองและสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองทั้งหมด ร้อยละ 90.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ได้แก่ อายุ (r = -0.235,p-value = 0.022), รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r = 0.157, p-value = 0.018), โรคประจำตัว(r = -0.135,p-value = 0.034) ระยะเวลาของการเจ็บป่วย (r = -0.274, p-value = 0.045) การสนับสนุนทางสังคม (r = 0.574, p-value = 0.000)

ข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
โดยการนำเอาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงติดบ้าน ติดเตียง ลดปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนของโรคอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/?p=40208

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. รายงานประจำปีสำนักอนามัยผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://eh.anamai.moph.go.th/th/anniversary-report/213488

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ.2564. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ณจันตา ครีเอชั่น จำกัด; 2564.

อลงกรณ์ เปกาลี, ภรณี วัฒนสมบูรณ์. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุไทย:ข้อมูลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. วารสารสุขศึกษา 2564; 44(1): 49-59.

กนกวรรณ สิทธิวิรัชธรรม, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2558; 38(4): 1-11.

เฉลิมพล ทรัพย์อุไรรัตน์, อภิชาต ใจอารีย์, สันติ ศรีสวนแตง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการVeridian E-Journal ฉบับมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ 2557; 7(2): 187-202.

กัญชรีย์ พัฒนา, อนงค์นุช สารจันทร์, เอกลักษณ์ ฟักสุข, นันทวัน สุวรรณรูป, ประภา ยุทธไตร, อรพรรณ โตสิงห์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่อาศัยในแฟลตเคหะชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(3): 488-496.

Wang LY, Feng M, Hu XY, Tang ML. Association of daily health behavior and activity of daily living in older adults in China. Scientific Reports 2023; 13: 19484.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้าน สาธารณสุขคปสอ.กู่แก้ว ประจำปีงบประมาณ 2566 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ10 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://sasookkukaeo.com/uploads/media/2022121608245312_%E0%

B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%AD.66_(1).pdf

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลค้อใหญ่. ฐานข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. รายงานประจำปี; 2565.

Krejcie, R.V., Morgan, D.W. Determining sample size for research activities. Journal Education and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.

กฤษฎากมล ชื่นอิ่ม. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน สมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

ชนาทิพย์ พลพิจิตร, ชมนภัส มณีรัตน์, เกศแก้ว วิมนมาลา, เพ็ญศริ สันตโยภาส. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์ 2563; 27(2): 103-115.

กฤติเดช มิ่งไม้. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.) 2561; 5(1): 13-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11