การพัฒนาการดูแลสุขภาพระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การดูแลสุขภาพระยะยาว, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาการพัฒนาการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 85 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าสถิติพรรณนา และ Paired Sample t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย การพัฒนาการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลนาคู
อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) พัฒนาระบบสารสนเทศทางคลินิก 2) พัฒนา
การสนับสนุนการตัดสินใจ 3) พัฒนาระบบบริการ 4) พัฒนาการสนับสนุนการดูแลตนเอง
5) พัฒนาการใช้ทรัพยากรและนโยบายชุมชน จากผลการดำเนินงาน พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มสังคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.88 มีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 75.29 มีความเศร้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 88.24
ไม่มีความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 85.88 ไม่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มร้อยละ 49.42 มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 32.94 และมีความเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้มร้อยละ17.64 ผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในภาพรวมเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายจิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแล ระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2559.
กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการบริการสุขภาพ 2561; 36(4): 15-24.
โรงพยาบาลนาคู. รายงานผลการดำเดินงานตามเกณฑ์ตัวชี้วัด Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อประจำปี2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th
ไพจิตรา ล้อสกุลทอง. การพัฒนาระบบบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนภายใต้บริบทของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
สังวาล จ่างโพธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2564; 7(2): 165-183.
อารี ชีวเกษมสุข, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, สมจินดา ชมพูนุท, ประคอง อินทรสมบัติ และคณะ. การพยาบาลผู้สูงอายุและการฝึกปฏิบัติการพยาบาล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2566.
Kemmis, & McTaggart, R.The Action research planner, 3rd ed.Geelong: Deakin University, Australia; 1988.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพ พ.ศ.2564. นนทบุรี: บริษัท ณจันตา ครีเอชั่น จำกัด; 2564.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2545.
Kemmis, & McTaggart, R.The Action research planner, 3rd ed.Geelong: Deakin University, Australia; 1988.
ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร และวิไลวรรณ วั ฒนานนท์. พยาบาลผู้จัดการรายกรณี: บทบาทการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในชุมชน. วารสารการพยาบาลและสาธารณสุข 2560; 2(1): 52-65.
สุปราณี บุญมี และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(4): 38-49.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น