กลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นงนุช โนนศรีชัย นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิทยา ศรีเมือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ลำพึง วอนอก อาจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาบริบทและบทเรียนกลยุทธ์ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหารระดับจังหวัดและผู้ปฏิบัติในระดับอำเภอ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการ การสัมภาษณ์เชิงลึกและ
การสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis)

ผลการศึกษา พบว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ใช้กลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกลไกสั่งการและออกคำสั่ง ถึงนายอำเภอทุกอำเภอ เพื่อดำเนินการป้องกันควบคุมโรค โดยใช้กลยุทธ์ เชิงรุก เชิงรับ กลยุทธ์การมีส่วนร่วม กลยุทธ์ 4 ทหารเสือ ร่วมกับมาตรการทางสาธารณสุข คือ การเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย การล้างมือและวัดอุณหภูมิ (DMHT) มาตรการทางสังคมเน้นการมีส่วนร่วมในการเว้นระยะห่าง การปิดหรือควบคุมสถานที่เสี่ยงและมาตรการทางการแพทย์ รวมถึง
การจัดเตรียมเวชภัณฑ์ให้เพียงพอต่อภาวะวิกฤติ การปรับการรักษาทางการแพทย์วิถีใหม่ ควบคู่ไปกับแผนการสื่อสาร แผนดูแลสุขภาพจิต แผนจัดการวัคซีน และแผนประคองกิจการ

ข้อเสนอแนะควรนำกลยุทธ์การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน การสั่งการ การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ไปพัฒนาในเรื่องการเตรียมความพร้อมสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้ครอบคลุมความเสี่ยงทุกโรคทุกภัยในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมถึงโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

References

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ims.ddc.moph.go.th/files/OpsPlan_COVID19_250263.pdf

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. รายงานการถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับเขตสุขภาพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563-1 กรกฎาคม 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. รายงานการถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับเขตสุขภาพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563-1 กรกฎาคม 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

พงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง, อุไรวรรณ จันทร์ทอง, และศุลักษณ์ เมธารินทร์. การพัฒนารูปแบบ

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชนบ้านบางมวง ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน[อินเตอร์เน็ต]. พัทลุง: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://ptho.moph.go.th/ptvichakarn63/index_doc.php

สมเจตน์ เหล่าลือเกียรติ, รักษ์พงษ์ เวียงเจริญ, ศุภฌา พิพัฒน์นรเศรษฐ, ชนากานต์ อนันตริยกุล.รายงานการวิจัย: ศึกษาระบบการป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่32; ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2566: 479-487.

มนู ศุกลสกุล, วาสินี วงศ์อินทร์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, คณิต หนูพลอยและขจรศักดิ์ เพ็ชรรัตน์. การบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในการรับมือโรคโควิด 19 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่31; ฉบับที่2 มีนาคม – เมษายน 2565: 253-244.

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. การบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภายใต้ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการกระจายอำนาจประชาธิปไตยท้องถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kpi.ac.th/knowledge/research/data/1304?page=39

กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับเขตสุขภาพ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563-1 กรกฎาคม 2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. กรอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. อุบลราชธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2566.

ชาญเลขา กุลละวณิชย์. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย; ปีที่พิมพ์ 11; เล่มที่ 2: 218-408

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11