ประสิทธิผลของกิจกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ในคลินิกหมอครอบครัวบ้านหนองเม็ก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พิณทิพ ธีรธนบดี โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุ, PCC

บทคัดย่อ

การพลัดตกหกล้มเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือกระทั่งรุนแรงถึงเสียชีวิตโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ดำเนินการศึกษาแบบสองกลุ่ม วัดผลสองครั้ง ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุมากว่า 60 ปี มีความเสี่ยงต่อการหกล้มประเมินด้วย Thai FRAT ได้ 4 คะแนนขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 คน ใช้โปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มควบคุม 23 คน ที่ใช้เฉพาะกิจกรรมการป้องกันการหกล้มแบบปกติ ดำเนินการศึกษาวิจัยทั้งหมด 12 สัปดาห์ จากนั้นเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการหกล้ม และ Time up and go test ระหว่างกลุ่ม ทั้งก่อนและหลังการทดลองหลังจบการทดลอง 6 เดือน

ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนครั้งในการหกล้ม และ Time up and go test ในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 0.527; 95% CI = 0.112-0.941; p-value = 0.015 และ mean difference = 2.458; 95% CI = 0.093-4.823; p-value = 0.042) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมและนำไปใช้ต่อไป

References

Marketeer Team. จำนวนผู้สูงอายุไทย ปี 65 ทำไมเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิดต่ำ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://marketeeronline.co/archives/272771

ณัฐหทัย นิรัติศัย. ผู้สูงอายุไทยในศตวรรษที่ 21 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธันวาคม 2565]; 1(1): 107–16. เข้าถึงได้จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSMBU/article/ view/248739

World Health Organization. Falls. [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Facts about falls [Internet]. Cdc.gov. 2023 [cited 2022 Dec 22]. Available from: https://www.cdc.gov/falls/facts.html

เยาวลักษณ์ คุมขวัญ, อภิรดี คำเงิน. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ: บริบทของประเทศไทย Home-Based Fall Prevention Guideline in Thai Contexts for Elderly People. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 28(3): 10-22.

ดิษฐพล ใจซื่อ.การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2): 255-269

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องมาตรการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2557.

ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน์ เสาวพันธ, กชนิภา ขวาวงษ, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล, และวิยะดา ทิพม่อม. การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้ แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(1): 111-126.

ภาวดี วิมลพันธุ์, ขนิษฐา ขนิษฐา. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2014; 23(3): 98-109.

ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, ชวนนท์ อิ่มอาบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562; 38(4): 288-298.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์; 2563.

Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Maneesriwongul, W., &Jitapunkul, S. Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Medical journal of the Medical Association of Thailand, 2008; 91(12): 1823.

Laohaprasitiporn P, Jarusriwanna A, Unnanuntana A. Validity and reliability of the Thai Version of the Barthel Index for elderly patients with femoral neck fracture. Journal of the Medical Association of Thailand, 2017; 100(5): 539.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คู่มือการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: เอส. เอส.พริ้นติ้ง แอนด์ ดีไซน์; 2563.

พรประภา สุทธิจิตร. การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุโดยการรำไทเก๊ก เชิงพุทธบูรณาการ [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

พัทธนันท์ เลิศคุณอธินนท์. ไท้เก๊ก: ศาสตร์แห่งการสร้างความสมดุลของชีวิต. Liberal Arts Review 2022; 17(2): 175-189.

จรัญญา ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสาร โรงพยาบาลนครพนม 2564; 8(1): 73-83.

Weidong C, Min L, Hai L, Yanzhao L, Zhoushan F. Tai Chi for fall prevention and balance improvement in older adults: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Frontiers in Public Health 2023; 11: 1236050.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11