ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • อินทรา ทับคล้าย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิมพ์นภัส ภูมิกิตติพิชญ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อิศรา ศิรมณีรัตน์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อนงค์ รักษ์วงศ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,200 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดีมาก ร้อยละ 41.83 และมีพฤติกรรมสุขภาพในระดับไม่ดี ร้อยละ 44.33 ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางสังคมและการทำงาน ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม และเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ปัจจัยทางสังคมและการทำงาน  และเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การจัดการสุขภาพของตนเอง การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจ และการสื่อสารด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561–2580 (ฉบับย่อ). [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย.นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กองสุขศึกษา. สรุปผลการประเมินศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ทรงทรรศน์ จินาพงศ์ และภัทราวุธ ชาวสนิท. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและกิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ 2563; 46(2): 56-67.

Nutbeem, D. The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine 2008; 67: 2072-2078.

วริยา บุญทอง และพัชรา พลเยี่ยม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ปี2564 เขตสุขภาพที่ 6. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/general-of-3/download/?did=207681&id=80295&reload=

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. นโยบายและยุทธศาสตร์ระยะที่ 2 พ.ศ.2566-2570. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2565.

สหประชาชาติประเทศไทย. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ

ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thailand.un.org/th/sdgs

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

วิมล โรมา และสายชล คล้ายเอี่ยม. รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2562. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2562.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย.นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ชัญญา อนุเคราะห์, ปัญชลิกา นาคคงคำ และนุสรี ศิริพัฒน์. สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 1. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2564; 11(1): 1-14.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์, วัลลภา อันดารา, อุษณีย์ บุญบรรจบ และรฐานุช ถิ่นสอน. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(3): 376-386.

เบญจวรรณ สอนอาจ. แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานผลการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2566.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของประชาชน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2566; 4(1): 137-152.

ประพันธ์ เข็มแก้ว และนิกรณ์รัตน์ ภักดีวิวัฒน์. การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชน กลุ่มวัยทำงานในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2564; 2(2): 32-42.

ชัชชฎาพร พิศมร, อลงกต ประสานศรี, เอกสิทธิ์ ไชยปิน และฉัตรสุดา มาทา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน สถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2565; 40(2): 75-84.

ภฤดา แสงสินศร. การศึกษาเรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2564; 2(2): 43-54.

ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์, นฤมล จีนเมือง, และนันทิยา โข้ยนึ่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561; 29(3): 170-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-03