สาเหตุของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคต้อกระจก โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พันนิตย์ อรัญญาวาส
  • วริศรา ศรีสุขกาญจน์
  • ธนนรรจ์ ธนนรรจ์ -
  • อรอนงค์ วลีขจรเลิศ
  • อัจฉรียา แสนมี โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคต้อกระจก, การผ่าตัดต้อกระจก, ความไม่ร่วมมือในการรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ได้รับการนัดหมายเพื่อรับบริการผ่าตัดต้อกระจก ที่คลินิกตา โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกชนิดบอด และชนิดสายตาเลือนรางระดับรุนแรงที่ได้รับการนัดหมายผ่าตัด ในช่วงเดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2566 จำนวน 86 ราย โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยทบทวนประวัติการลงนัด และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจัดกลุ่มข้อมูล

ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุหลักของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยที่ไม่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจกตามนัด คือ กังวลเรื่องภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ร้อยละ 46.7 รองลงมา คือ มีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น และต้องเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 26.7 และญาติพาไปรับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลอื่น ร้อยละ 23.3 สาเหตุหลักของความไม่ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยที่ไม่มาติดตามการรักษาครบตามนัดภายหลังได้รับการผ่าตัดต้อกระจก คือ ไม่มีญาติหรือผู้ดูแลพามาโรงพยาบาล ร้อยละ 80.8

ดังนั้น หน่วยบริการควรจัดให้มีการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดต้อกระจก หน่วยงานภาครัฐในชุมชน ควรให้การสนับสนุนผู้ป่วยที่ต้องการผู้ดูแลระหว่างพักฟื้น รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องการผู้ดูแลพามาพบแพทย์ตามนัด เพื่อช่วยลดอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถมาติดตามการรักษาได้

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. โรคตา: การแพทย์ไทย 2554-2557 (Thailand Medical Service Profile 2011-2014). นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

World Health Organization. Regional Office for South-East Asia. VISION 2020. WHO Regional Office for South-East Asia. [Internet]. [Cited 2022 September 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/206523

Jenchitr W, Hanutsaha P, Iamsirithaworn S, Parnrat U, Choosri P, et al. The national survey of blindness low vision and visual impairment in Thailand 2006–2007. Thai J Pub Hlth Ophthalmol. 2007; 21: 11–94.

Isipradit S, Sirimaharaj M, Charukamnoetkanok P, Thonginnetra O, Wongsawad W, Sathornsumetee B, et al. The first rapid assessment of avoidable blindness (RAAB) in Thailand. PLoS One. 2014; 9(12): e114245.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ชุดอัตราการผ่าตัดต้อกระจกในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (Senile cataract) สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.data.go.th/dataset/dataset-ip_21_02

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลสรุปการคัดกรองและวินิจฉัยตาบอด. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://vision2020thailand.org/rep-screen-summary.php

Lansingh VC, Carter MJ, Martens M. Global cost-effectiveness of cataract surgery. Ophthalmology. 2007; 114(9): 1670-8.

National Health Service, United Kingdoms. Cataract surgery. [Internet]. [Cited 2022 September 1]. Available from: https://www.nhs.uk/conditions/cataract-surgery/recovery/

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาจักษุวิทยา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2564.

ภัณฑิรา โมสิกะ. ศึกษาประเด็นปัญหาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ปฏิเสธการรักษา กรณีศึกษา: อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. มหานครศรีธรรมราชเวชสาร 2563; 3(2): 1-7.

ดุจดาว ทัพเบิก. ผลการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม

หอผู้ป่วยตา หูคอ จมูกโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/

fd6bc4f410218084cfe996bb96dc59.pdf

สุรพีย์ มาสมบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มารับการผ่าตัดตัอกระจกใส่เลนส์แก้วตามเทียมในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553. 166 หน้า.

เอื้องพร พิทักษ์สังข์. การศึกษาความวิตกกังวล ความเครียด และความต้องการข้อมูลของผู้ป่วยก่อนได้รับการผ่าตัดทางตาแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศิริราช 2554; 4(1): 35-42.

วารุณี กุลราช, วัลภา คุณทรงเกียรติ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดในผู้ป่วยผ่าตัดตา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560; 9(1): 1-12.

Kovai V, Paudel P, Stapleton F. Reasons for refusing cataract surgery in illiterate individuals in a Tribal Area of Andhra Pradesh, India Ophthmic Epidermiology 2014; 21(3): 144-52.

Kumar P, Mondal A, Vishwakarma P. Factor limiting the Northeast Indian elderly population from seeking cataract surgical treatment: Evidence from Kolasib district, Mizoram, India. Indian J Ophthalmol 2018; 66(7): 970-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27