ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ โฉมวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์คัดเข้า จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) โปรแกรมการจัดการสุขภาพและ 2) แบบสอบถามความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยวิเคราะห์ค่า KR-20 เท่ากับ 0.89 และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.95 เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ dependent t-test และ Independent t-test ระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ก่อนได้รับโปรแกรมฯ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรู้ที่เพิ่มขึ้น พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

องค์ความรู้ที่ได้รับ คือ การส่งเสริมการจัดการตนเองที่มีการติดตามเยี่ยมบ้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพภายใต้ความสามารถในการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmthai.org

กรมควบคุมโรค. กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256

กรมควบคุมโรค. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016

Health data center: HDC. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) จังหวัดลพบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://lri.hdc.moph.go.th

กานต์ชนก สุทธิผล. ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. นครสีธรรมราชเวรสาร 2565; 1-11.

ซูไฮนี ดอเลาะ และโนเยาฮารี สา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. TUH Journal online Volume 4; 2562: 28–30.

ปราณี ศรีสงคราม. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน; ปีที่5 ฉบับที่ 1 มกราคม–เมษายน 2563: 84–94

กฤษฎา หาสีงาม และลาวัลย์ บาลศิริ. ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และนวัตกรรม หมาวิทยาลัยกาฬสินธุ์; ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2565: 60–72

Kanfer, F.H., & Gaelick-Bays, L. Self management Medthod. In Kanfer FH, Goldsteinn A, editors.Helping people change: A text book at medthods. (8thed). New York:Pergumon press; 1991.

จิตรา จันทร์เกตุ. ผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวด้านโภชนาการต่อ ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2562.

กนกวรรณ ด้วงกลัด. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. Journal of Health and Nursing Research; Vol.36 No.1 January-April 2020: 66–82

พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในไม่ได้ของโรงพยาบาลชุมชนและเครือข่าย. วารสารการแพทย์เขต 11/2566; 1: 29–45.

ธัญญลักษณ์ แสนบุดดา และคณะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2:ช่วงมาตรการผ่อนคลายโควิด-19. วารสารวิชาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2566; 1: 531.

กฤตกร หมั่นสระเกษ และคณะ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562; 2: 78–103

สาวิตรี นามพะธาย. ผลของโปรแกรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง/พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25