การพัฒนารูปแบบการประเมินความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (PP&P EXCELLENCE) ของโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, การพัฒนารูปแบบการประเมินความก้าวหน้าโครงการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ CIPP MODEL ในการประเมินความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศของโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศโรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 34 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า การประเมินความก้าวหน้าโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ มีการพัฒนารูปแบบการประเมินความก้าวหน้าโดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL จนได้รูปแบบการประเมินความก้าวหน้าที่สัมพันธ์กัน 4 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านบริบทโครงการ 2) ด้านปัจจัยการนำเข้า 3) ด้านกระบวนการดำเนินงาน 4) ด้านผลผลิต เมื่อทำการประเมินความเหมาะสมรูปแบบ CIPP MODEL ในการประเมินการประเมินความก้าวหน้า พบว่า ภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านบริบทโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต และด้านปัจจัยนำเข้า
References
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลพุทธโสธร. แผนยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลพุทธโสธร 2566-2567 ฉบับทบทวนปีงบปะมาณ 2567. ฉะเชิงเทรา: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลพุทธโสธร; 2567.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Scriven, M. The Methodology of Evaluation. AERA Monograph Series in Curriculum Evaluation.Chicago: Rand McNally; 1967.
พัชรินทร์ สมบูรณ์, พรทิพย์ ไชยโส และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการภายใต้ แผนงานสร้างสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2556; 7(2): 166-183.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.
ณัฐวรรณ แย้มละมัย และ สุณี หงส์วิเศษ. การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2561; 8(3): 17-25.
สำราญ มีแจ้ง. การประเมินโครงการทางการศึกษา : ทฤษฎีและปฏิบัติ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติ ปี 2554-2558. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2554.
สาคร สุขศรีวงศ์. การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี พีไซเบอร์พรินท์; 2550.
ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. การประเมินผลโครงการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2556; 19(2): 31-45.
พรชนก ณรงค์มี. การใช้แบบจําลอง CIPP ในการประเมินการรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเทศบาลนนทบุรี. [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น