ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำหนาว

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ฤดี สีมา กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลน้ำหนาว

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, โปรแกรมส่งเสริม, ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็ก, โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (2) ศึกษาอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วันของผู้ป่วยเด็กโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านการดูแลของผู้ดูแลฯ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และ 0.70 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.928 และ 0.751 ตามลำดับ รวมทั้งแบบบันทึกอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน

ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 33.93 คะแนน (95%CI = 28.40-39.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านการดูแลเพิ่มขึ้น 5.8 คะแนน (95%CI = 4.56-7.04) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 ตามลำดับ และผู้ป่วยไม่มีการกลับมารักษาซ้ำภายใน 28 วัน

โปรแกรมนี้ สามารถปรับใช้กับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กในกลุ่มโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนบนอื่นๆ ได้

References

สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงาน การป่วย พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กลุ่มดิจิทัลสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562.

คนึงนิจ วิชา, อุษณีย์ จินตะเวช, สุธิศา ล่ามช้าง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลของบิดามารดาในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนผ่าตัดหัวใจ. พยาบาลสาร 2564; 48(2): 193-205.

Nutbeam, D.Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15(3): 259-67.

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacySocial Science & Medicine 2008; 67(12): 2072-8.

Nutbeam, D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. J Public Health 2009; 54: 303-5.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd edition.Lawrence Erlbaum: Hillsdale NJ; 1988.

นันทกานต์ แสนรักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสารสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพในการควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563.

ประดับเพชร เจนวิพากษ์, วัลยา คะศรีทอง, นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลของการวางแผนจำหน่ายต่อความรู้ของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ งานผู้ป่วยในกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565; 12(2): 164-77.

สุจิน เพชรมาก. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://hr.ptho.moph.go.th/fileupload/dep_10_20211216873427238.pdf

ผนึกแก้ว คลังคา, วิลาวัณย์ จันโทริ, อำภา ทาเวียง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2562; 32(2): 40-49.

จุฑาทิพย์ นามม่อง, ณัชนันท์ ชีวานนท์, จินตนา วัชรสินธุ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมของมารดา ในการดูแลบุตรวัยหัดเดินที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 27(3): 43-53.

วัลทณี นาคศรีสังข์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 4(1): 82-98.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว, วิภาดา ดวงพิทักษ์, ไรจูณ กุลจิติพงศ์, อลิสา ผาบพุทธา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565; 19(3): 165-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-09