การประเมินผลการนำยุทธศาสตร์การป้องกันมารดาเสียชีวิตไปสู่การปฏิบัติ ใน 4 อำเภอ จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, มารดาเสียชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการนำยุทธศาสตร์การป้องกันมารดาเสียชีวิตไปสู่การปฏิบัติใน 4 อำเภอ จังหวัดปัตตานี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลมี 3 กลุ่ม มีจำนวนทั้งสิ้น 199 ราย คือ 1. กลุ่มบุคลากรผู้รับงานอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 129 ราย 2. กลุ่มเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ จำนวน 25 ราย และ 3. กลุ่มคณะทำงานพัฒนาเครือข่ายระบบบริการงานอนามัยแม่และเด็กระดับอำเภอ จำนวน 45 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผลการดำเนินการนำยุทธศาสตร์การป้องกันมารดาเสียชีวิตไปสู่การปฏิบัติ 4 ยุทธศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.01 ± 0.68) ส่วนความคิดเห็นต่อปัจจัย 6 ประการที่มีผลต่อการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมากคือ มาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (3.54 ± 0.52) การสื่อสาร (3.87 ± 0.51) ลักษณะองค์การ (4.26 ± 0.53) และ ความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ (3.87 ± 0.56) ส่วนด้านทรัพยากร (3.32 ± 0.69) และ เงื่อนไขเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (3.47 ± 0.74) ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ทุกด้านยังมีการดำเนินงานแบบแยกส่วน ขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนอื่น ๆ เช่น ภาคประชาชน รวมทั้งขาดสร้างการมีส่วนร่วมที่ทั่วถึงในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการวิเคราะห์ช่องว่างของการนำยุทธศาสตร์การป้องกันมารดาเสียชีวิตไปสู่การปฏิบัติที่มีอยู่ในระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทและภูมิทางสังคมในพื้นที่ในระยะยาวต่อไป
References
World Health Organization. Trends in maternal mortality: 1990 to 2015: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Geneva; 2015.
สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุลและคณะ.การสำรวจเกี่ยวกับข้อมูล มารดาและทารกแรกคลอด. โครงการในแผนพัฒนา วิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ ๑๐๐ ปี) 2551 – 2552
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษด้านสุขภาพ (Millennium Development Goals - MDGs) ฉบับที่ 3 2557. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด, 2557.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “รายงานสถานการณ์การดำเนินงานรายเดือนระบบเฝ้าระวังการตายมารดาไทย”. 2560 – 2562)
กองการส่งเสริมสุขภาพ. ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี “รายงานสรุปการดำเนินงานงานอนามัยแม่ละเด็กจังหวัดปัตตานี”2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี .ข้อมูล HDC สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี 2562.
กองแผนยุทธศาตร์. กระทรวงสาธารณสุข แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562
สำนักอนามัยเจริญพันธ์.กรมอนามัย.ตัวชี้วัด SDG 3.1. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2561 จาก
http://rhdata.anamai.moph.go.th/index.php/maternal/maternal12
รายงานสถิติสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2561
ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา.สถานการณ์และแผนการลดการตายของมารดา เขตบริการสุขภาพที่ 12 2562.
ศิรินาถ ตงศิริ และคณะ (2561).ทฤษฎีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ. วารสารวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2561.
กล้า ทองขาว 2548. นโยบายสาธารณะและการวางแผน. เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการจัดการ(หน่วยที่ 5) นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรเดช จันทรศร .2554. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.
สมพร เฟื่องจันทร์. 2552. นโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัท ออน อาร์ตครีเอชั่น จำกัด.
มยุรี อนุมานราชธน 2553 นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ธรรกมลการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น