ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพช่องปาก, ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริม
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านมะขาม จังหวัดจันทบุรี กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมดของโรงเรียน จำนวน 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 6 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ Independent t-test กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้สุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ยกเว้นความรอบรู้สุขภาพช่องปากด้านการรู้เท่าทันสื่อของ
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากไปประยุกต์ใช้ในแผนงาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น โดยนำโปรแกรมไปปรับให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
References
ธนานัฐ บุญอินทร์. สภาวะโรคฟันผุและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2560; 1(3): 12-28.
สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 9. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.
สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8. นนทบุรี: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
ฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลมะขาม. รายงานผลการตรวจสุขช่องปากเด็กนักเรียนประจำปีงบประมาน 2564. โรงพยาบาลมะขาม; 2564.
วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารทันตาภิบาล. 2566; 34(1): 35-44.
จามจุรี แซ่หลู่. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน ของเด็กวัยเรียนที่เริ่มอ้วนและอ้วนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2563; 7(11): 1-15.
อรดี ไชยวงศ์. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพชองปากต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แขวงคําม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2564; 26: 37-50.
วุฒิพงศ์ ธนะขว้าง. ประสิทธิผลโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพการดูแลสุขภาพช่องปากในสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 7(1): 87-97.
กองสุขศึกษา. การสร้างเสริมและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัทนิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2559.
สมชาย รัตนทองคำ. แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 2556 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/13eva56.pdf
อรอุมา เจริญสุข. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.
อัจฉริยา มาลัยมาตย์. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงกับการเกิดโรคฟันผุในนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ตําบลแม่เล่ย์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2566; 5(1): 56-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น