ผลของรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง บ้านจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม”, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่บ้านจิกดู่ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยรูปแบบการจัดการชุมชนโลโซ “เดียม” แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล เป็นการให้ความรู้การบริโภคอาหาร ระดับครัวเรือน เป็นการสุ่มตรวจค่าโซเดียมในอาหาร และระดับชุมชนเป็นการรณรงค์โดยใช้โปสเตอร์ ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการบริโภคอาหารในการเก็บรวบรวมข้อมูล คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกัน ได้เท่ากับ 48 คน จึงทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วยสถิติทดสอบ Paired Sample T-Test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มสูงขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตส่วนบน (SBP) ลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ส่วนค่าเฉลี่ยความดันโลหิตส่วนล่าง (DBP) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้รูปแบบการจัดการชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนอย่างยั่งยืน
References
กริช เรืองไชย, อภิญญา อุตระชัย, อาทิตยา วังวนสินธุ์. ความสัมพันธ์ของการบริโภคโซเดียมกับระดับความดันโลหิตในประชาชนภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(3): 184-97.
กรมควบคุมโรค. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/odpc9/news.php?news=34026&deptcode
องค์การอนามัยโลก. รายงานของผลกระทบอันร้ายแรงจากโรคความดันโลหิตสูงและวิธีหยุดยั้งโรคนี้ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/th/news/detail/19-09-2566-first-who-report-details-devastating-impact-of-hypertension-and-ways-to-stop-it
กองโรคไม่ติดต่อ. โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมระดับจังหวัด [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/2016/media-detail.php?id=14506&tid=1-001-005,31,29&gid=1-015-005
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://spd.moph.go.th/healthdata/
แบบรายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. ประเด็นที่ 5: ลดป่วย ลดตาย และการสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_report_summary/2023-03-28-09-49-03.pdf
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ. การใช้บริการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
ณินญาภร ใจยอด, อนุกูล มะโนทน. ประสิทธิผลการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดภาวะโรคอ้วนของบุคลากรโรงพยาบาลสุโขทัย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 9(1): 15.
ภิญยา ไปมูลเปี่ยม, พัชนี อินใจ, วินัย ปันทะนะ, ไชยวัฒน์ น้ำเย็น. การพัฒนาระบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนภายใต้บริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลแม่สาคร อําเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(3): 394-400.
เรียมใจ พลเวียง, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง. การพัฒนารูปแบบการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565; 31(1): 10.
สมสมัย รัตนกรีฑากุล, ชรัญญากร วิริยะ, พรเพ็ญ ภัทรากร. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8(3): 52-65.
สุพรรษา ยาใจ, ดวงนภา ปราบโรค. การควบคุมระดับความดันโลหิตโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและให้การดูแลต่อเนื่องในบริการปฐมภูมิ. เชียงรายเวชสาร 2562; 11(2): 25-33.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจิกดู่. ข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่และรายเก่า. 2567.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, ปรีดา สาราลักษณ์, จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา, สดศรี ประทุม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารเกลือต่ำและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2557; 25(1): 72-84.
ละออทิพย์ แสงทอง. ผลของโปรแกรมการบริโภคอาหารโซเดียมต่ำต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://hr.ptho.moph.go.th/fileupload/dep_10_2023062832720748.pdf
ลำพูล ศรีสังข์รัตน์, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2566; 30(3): 181-93.
วรัญญา ค้อชากูล, วรวุฒิ ชมภูพาน. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้หลักการบริโภคอาหารในรูปแบบแดชไดเอทโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2567; 6(1): 53-9.
สาคร เสริญไธสง. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านโภชนาการร่วมกับการใช้เครื่องวัดความเค็มต่อการลดการบริโภคโซเดียมระดับความดันโลหิตและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2567; 4(1): 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น