ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ของผู้ดูแล จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สันติสุข ฮะวังจู นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นิภา มหารัชพงศ์ สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เด็กปฐมวัย, ผู้ดูแล, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ดูแล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน 194 คน ในจังหวัดจันทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอยู่ระดับพอใช้ และมี 5 ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การจัดการตนเองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก (β = 0.411, p-value < 0.001) ความรู้ ความเข้าใจ (β = 0.214, p-value < 0.001) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (β = 0.257, p-value < 0.001) อาชีพของผู้ดูแล (β = 0.155, p-value = 0.005) และทักษะการตัดสินใจ (β = 0.155, p-value = 0.005) ซึ่งมีอำนาจการทำนายร้อยละ 45.00  = 0.450, p-value < 0.001)

ดังนั้น เพื่อให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล ทำให้ผู้ดูแลได้เพิ่มพูนความรู้ มีการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสม และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเด็กที่ได้รับการดูแลช่องปากอย่างเหมาะสมตั้งแต่อายุยังน้อย จะเป็นการวางรากฐานสำหรับสุขภาพฟันที่ดีในอนาคต

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2567.

สุพัตรา วัฒนเสน, สุนิสา มาม่วง, สุวนันท์ ไชยวุฒิ, มาลิกา นามทรรศนีย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล 2565; 1: 43-56.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary Health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International 2000; 15: 259-267.

กองสุขศึกษา. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (จำกัด); 2556.

ฉัตรนภา จบศรี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2566; 1: 102-117.

ธีระ วรธนารัตน์, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อรจิรา วงษ์ดนตรี, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.

การทบทวนสถานการณ์และกลไกการจัดการความแตกฉานด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ท.]: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/research/detail/6326

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ข้อมูลประชากร[อินเทอร์เน็ต]. [ม.ป.ท.]: กรมอนามัย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat?year=2021&cw=22

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562; 9: 496-507.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 2: 9-18.

Bloom, Benjamin S. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.

กัลยา วานิชย์บัญชา, ฐิตา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา; 2560.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. แปรงแห้ง. วารสารการสาธารณสุข 2560; 2: 348-359.

เกตุวดี เจือจันทร์, อิชยา สินไชย, อรวรรณ นามมนตรี, อโนชา ศิลาลัย, หฤทัย สุขเจริญโกศล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2559; 1: 5-17.

ปิยภา สอนชม, ปิยะนารถ จาติเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้ดูแลและสภาวะโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ 2565; 2: 329-339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17