ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อภิญญา จตุพิทักษ์กุลชัย นิสิตพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นงเยาว์ มีเทียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 74 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83, 0.83, 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.70) รายด้าน พบว่า ด้านการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคฯ มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = -0.33) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมป้องกันโรคฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.55) รายด้าน พบว่าการรู้เท่าทันสื่อ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ

ดังนั้น ผู้ให้บริการควรสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อฯ สำหรับกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อฯ ที่เหมาะสม

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238

World Health Organization [Internet]. [cited 2024 Aug 17]. Available from: https://data.who.int/dashboards/covid19/cases

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2567] .เข้าถึงได้จาก; https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation_more.php

World Health Organization Thailand. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/thailand/th/news/detail/02-05-2567-update-on-covid-19-in-thailand

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 เเละมาตราการควบคุมป้องกันในระดับโรค เเละในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์; 2565.

ธนสรณณ์ ศรีใช้ประวัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2565; 19(1): 47-60.

เชาวลิต เลื่อนลอย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ ประชาชน อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2565; 2(1): 18-33.

ฉัตรวรุณ ศรีวิลัย. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในช่วงชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly 1988; 15(2): 175-83.

ชาญานิศ ลือวานิ, จิตติพงศ์ สังข์ทอง, อาทิตยา จิตจำนงค์, สุธาสินี พิชัยกาล, นิศากร ตันติวิบูลชัย, เอกชัย เสีงล้ำ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ในการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ของประชาชนที่อาศัยในจังหวัดภูเก็ต. NU Journal of Nursing and Health Sciences 2563; 14(3): 73-88.

ณฐกร นิลเนตร, สุขศิริ ประสมสุข, นครินทร์ ประสิทธิ์, เพ็ญวิภา นิลเนตร, ณัฐพล โยธา, กฤติยาณี ธรรมสาร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชากรวัยแรงงานในจังหวัดนครราชสีมา. Health Science Journal of Thailand 2563; 4(4): 10-8.

ประศักดิ์ สันติภาพ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุ ในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2565; 7(3): 72-84.

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2565; 49(1): 200-12.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social science & medicine. 2008; 67(12): 2072-8.

Olowe OA, Ross AJ. Knowledge, adherence and control among patients with hypertension attending a peri-urban primary health care clinic, KwaZulu-Natal. African journal of primary health care & family medicine 2017; 9(1): 1-5.

บุญเลิศ บุตรจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรม การป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ เขตพื้นที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 2565; 38(1): 66-78.

นิชาภา เหมือนภาค, ธณกร ปัญญาใสโสภณ, ธวัชชัย เอกสันติ. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ผลกระทบสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2565; 40(2): 85-94.

Kaeodumkoeng k, Thummaku d. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย Health literacy promoting in aging population. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี 2015; 9(2).

กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(1): 26-36.

Khumthong T, Potisiri W, Kaedumkoeng K. Factors influencing health literacy for people at risk of diabetes mellitus and hypertension of Uthai Thani and Ang Thong. Veridian E-Journal. Science and Technology Silpakorn University 2016; 3(6): 67-85.

สุพรรณี ใจดี. การศึกษาภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุ ในชุมชนกรุงเทพมหานคร. วารสารแพทย์นาวี 2559; 44(3): 117-35.

Best JW, Kahn JV. Research in education. New Jersey: Printice Hall. Inc; 1997.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาล แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร: ดีกรี วิชั่น จำกัด; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27