ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ความรู้, เจตคติ, พฤติกรรมการป้องการมีเพศสัมพันธ์, นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ, อาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ เจตคติและพฤติกรรม
การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ และ 3) ศึกษาแนวทางการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 361 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาและความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ด้วยวิธี KR-20 เท่ากับ 0.84 ส่วนแบบสอบถามเจตคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.74 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ในระดับมาก ( = 13.03, S.D. = 2.2) คะแนนเฉลี่ยเจตคติ ในระดับปานกลาง ( = 3.40, S.D. = 0.6) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในระดับปานกลาง ( = 3.2, S.D. = 0.8) และ 2) ระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ (r = -0.048) ส่วนเจตคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.49, p-value < 0.01) และ 3) แนวทางการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา การให้ครอบครัว โรงเรียนและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลอย่างต่อเนื่อง
References
World Health Organization (WHO). Delivering on global promises of hope. Pregnant adolescents 2020; 1: 8-9.
Steinberg L. Adolescence. 5th ed. New York: McGraw Hill Publishing 1999; 4: 606.
Bandura A. Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall 1977; 1: 247.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศ คุยได้ในครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2564.
Erikson EH. Identity: youth and crisis. Norton & Co, 1968; 1: 336.
McEvoy M, Coupey SM. Sexually transmitted infection. Nursing Clinics Journal 2002; 37: 461-474.
รัตนาภรณ์ บุญนิยม. พฤติกรรมและทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นของนักศึกษาสาขาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม 2564; 1(2): 11-22.
วิรยา บุญรินทร์, กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์. พฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาในเขตเทศบาลอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2563; 9(2): 114-124.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. สถิติการเกิดมีชีพของทารกแรกเกิด ในจังหวัดชัยภูมิ ปี พ.ศ. 2560–2565. ชัยภูมิ: แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลชัยภูมิ; 2565.
Taylor-Seehafer M, Rew L. Risky sexual behavior among adolescent women. J Soc Pediat Nurs, 2000; 5: 15-25.
Benora SK, Khelendra RK, Choudhury BN, et al. AIDS survey of knowledge attitude and beliefs of undergraduate students of Delhi University. Indian Community J Med 1992; 17: 155-159.
วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ. รายงานจำนวนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ จำแนกตามสาขาวิชา ปี พ.ศ. 2565-2566. ชัยภูมิ: วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ; 2566.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30: 607-610.
ศุภาพิชญ์ ด้วงเงิน, เอกวิทย์ มณีธร. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. รายงานการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
ประดิษฐ์พร พงศ์เตรียง, ทัศนีย์ สุนทร. การรับรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและแนวทางการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นชาย: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(3): 152-166.
หมัดเฟาซี รูบามา, ไกรษร วงศ์พรัด, นพวัลภ์ มงคลศรี, กฤษดา มงคลศร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติเกี่ยวกับความรักในวัยเรียนของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. รายงานการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2562; 11: 263-274.
Bloom BS, et al. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1971.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด; 2560.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, วัลลภ ใจดี, สุพรรษา สงฉิม. การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. รายงานการวิจัย. ชลบุรี: คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563.
สุนีย์ กันแจ่ม. การพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายกับเพื่อนหญิง. รายงานการวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
Sanz-Martos S, Lopez-Medina IM, Alvarez-Garcia C, Alvarez-Nieto C. Educational program on sexuality and contraceptive methods in nursing degree students. Nurse Education Today, 2021; 107: 1-7.
จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์, ธัญญลัลน์ พิมเสน, นันทิกา คบลา, นิภาวดี สีสนิท, ปิยะภาภรณ์ อ่อนวงษ์, วราภรณ์ ม่วงโมด. การรับรู้บทบาททางเพศและทัศนคติทางเพศของวัยรุ่นในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2562; 1(2): 1-13.
ซอลาฮ เด็งมาซา, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนอาชีวศึกษาในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562; 5(1): 14-28.
ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมืองพัทยา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2563; 34(1): 13-29.
ศิวานิตย์ ทองคำดี, ฉวีวรรณ บุญสุยา, เสาวนีย์ ทองนพคุณ, สาวิตรี วิษณุโยธิน. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 15(1): 85-98.
เมธิกา ศรีสด, พิมลพรรณ อิศรภักดี. การยอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานของคนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559; 11(2): 137-145.
ชญาดา ศิริภิรมย์, จรรยพร กองสอน, สนั่น จักรโสภา. พฤติกรรมการป้องกันตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร: กรณีศึกษาวัยรุ่นตอนกลางโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2563; 7(2): 49-63.
ประดิษฐ์พร พงศ์เตรียง, ทัศนีย์ สุนทร. การรับรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและแนวทางการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในวัยรุ่นชาย: การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(3): 152-166.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น