ผลของโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การฟื้นฟู, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชีวิต, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมองต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 31 คน และกลุ่มทดลอง 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยดัชนีบาร์เธล แบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับสู่ชุมชน โดยการฝังเข็มร่วมกับกายภาพบำบัด จำนวน 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิตและคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ก่อนการทดลองทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อยู่ในระดับดี หลังการทดลอง พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนนี้สามารถนำไปใช้ในพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียง
References
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) ป้องกันได้. [อินเตอร์ เน็ต]. สงขลา: สำนักงานป้องกั นควบคุมโรคที่ 12 สงขลา; 2562 [เข้าถึงเมื่อ
พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https:// ddc.moph.go.th/odpc12/news.php?news=10006&deptcode=
สถาบันประสาทวิทยา. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมพาต) สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบัน ; 2556.
American Heart Association. AHA guidelines update for CPR and ECC. [Internet]. 2021 [Cited 2022 Dec 15]. Available from: https://cpr.heart.org/en/resuscitation-science/cpr-and-ecc-guidelines.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Cramer SC. Repairing the human brain after stroke: I. Mechanisms of spontaneous recovery. Ann Neurol 2008; 63(3): 272-87.
Hyndman D, Pickering RM, Ashburn A. The influence of attention deficits on functional recovery post stroke during the first 12 months after discharge from hospital. Journal of neurology, neurosurgery and psychiatry 2008; 79(6): 656-663.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานประจำปี ปีงบประมาณ 2564. สุพรรณบุรี: สำนักงาน; 2564.
Wang J, Pei J, Khiati D, Fu Q, Cui X, Song Y, et al. Acupuncture treatment on the motor area of the scalp for motor dysfunction in patients with ischemic stroke: study protocol for a randomized controlled trial. National Library of Medicine 2017; 18(1): 1-11.
เอื้อมพร สุ่มมาตย์, อุมภิกา ซองเหล็กนอก. ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสภาพโดยการกายภาพบำบัดร่วมกับการฝังเข็มต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(2): 260-270.
อรุณ จิรวัฒน์กูล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2551.
Naylor MD, Brooten DA, Campbell RL, Maislin G, McCauley KM, Schwartz JS. Transitional care of older adults hospitalized with heartfailure: A randomized, controlled trial .Journal of the American Geriatrics Society 2004; 52(5): 675-684.
Mahoney FI, Barthel DW. Functional evaluation: The Barthel Index. Maryland state medical Journal 1965; 14(1): 56-61.
Post MW, Boosman H, van Zandvoort MM, Passier PE, Rinkel GJ, Visser-Meily JM. Development and validation of a short version of the stroke specific quality of life scale. J Neurol Neurosurg Psychiatr 2011; 82(3): 283-286.
ธาดา สืบหลินวงศ์, พรรณแข มไหสวริยา, สุธี พานิชกุล. แนวทางจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2551.
พยุงศักดิ์ สุจิตวัฒนศักดิ์. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดด้วยวิธีฝังเข็มรักษา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์ 2564; 36(1): 89-100.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการจัดบริการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. กรุงทพฯ: ร้านพุ่มทอง; 2563.
ชานานันท์ ประดิษฐบาทุกา, วิลาวัลย์ เติมกลิ่นจันทน์. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ใช้บริการการแพทย์ทางเลือกโดย การฝังเข็มศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) 2564; 13(25): 25-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น