ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายใน องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • คฑาวุธ แสนเมือง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปิยะพงษ์ ชุมศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://orcid.org/0000-0002-7187-8019
  • ชลธิชา ศรีโลน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปิ่นกมล สนโคกสูง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปนัดดา หงษาวงค์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สมาน สีดา สมาน สีดา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการคัดแยกขยะโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า

ผลการวิจัย ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.54 ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมการคัดขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 43.98 นอกจากนี้ พฤติกรรมการคัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 48.69 สำหรับปัจจัยด้านบุคคล พบว่า แผนกการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (h = 0.331) นอกจากนี้ ความรู้และทัศนคติยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.271 และ r = 0.482)

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคลากรแต่ละแผนกเกิดความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะในองค์กรเพิ่มมากขึ้น

ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของบุคลากรภายในองค์การบริหารส่วนตำบล ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 78.54 ส่วนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรม
การคัดขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 43.98 นอกจากนี้ พฤติกรรมการคัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 48.69 สำหรับปัจจัยด้านบุคคล พบว่า แผนกการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (h = 0.331) นอกจากนี้ ความรู้และทัศนคติยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.271 และ r = 0.482)

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมส่งเริมให้บุคลากรแต่ละแผนกเกิดความรู้และทัศนคติต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะในองค์กรเพิ่มมากขึ้น

References

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2561 [อินเทอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_region.php?year=2561&geography=1

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2562 [อินเทอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_region.php?year=2562&geography=1

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2563[อินเทอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_region.php?year=2563&geography=1

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2564[อินเทอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_region.php?year=2564&geography=1

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2565[อินเทอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_region.php?year=2565&geography=1

เฉลิมชาติ แสไพศาล. การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556.

สุชาดา ภัยหลีกลี้. พฤติกรรมและความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2(3): 263-271.

ผกามาศ รินรักษา. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในเขตตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตกลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

วิภาณี อุชุปัจ. ความรู้ พฤติกรรมในการจัดการขยะของประชาชน และคุณภาพการบริการในการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.

นฤญา ยางธิสาร, พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร, ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือนของผู้อยู่อาศัยในตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 28(1): 155-167.

สมใจ เป้าทอง, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, วรัศกรณ์ สุดสาคร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนตำบลบางเป้า อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562; 2(1): 12-22.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ปนัดดา งามเปรี่ยม, สุรัตนา เหล่าไชย, ประภากร ศรีสว่าวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลแวงน่าง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(3): 104-114.

กริชวา ระดาพิทักษ์กุล, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, พุฒิพงศ์ มากมาย. ความรู้ ทัศนคติและการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เขตตำบลป่าแฝก จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2564; 4(1): 77-86.

ศุภษร วิเศษชาติ, สมบัติ ศิลา, สุนิศา แสงจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2564; 14(2): 69-79.

สำนักงานการปกครองส่วนท้องถิ่น. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น [อินเตอร์ เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://loeilocal.go.th/public/

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จํากัด; 2553.

กนกวรรณ ศรมณี,โชติ บดีรัฐ. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร. Journal of Modern Learning Development 2565; 7(5): 166-178.

Blooms BS, Hastings JT, Madus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. 1st ed. New York: McGraw-Hill. 923; 1971.

Likert R. The Method of constructing attitude scale. In Reading in Fishbein. New York: Wiley & Son; 1967.

Best JW. Research in Education. 4th ed. New Delhi: Prentice Hall of India Pvt. Ltd; 1981.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27