การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4

ผู้แต่ง

  • ผาสุข สุตวัฒน์ โรงพยาบาลนครนายก
  • บังอร นาคฤทธิ์ โรงพยาบาลนครนายก
  • เพ็ญศรี ละออ โรงพยาบาลนครนายก
  • สารนิติ บุญประสพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรังระยะ 3-4, การจัดการตนเอง 5A, ค่าอัตราการกรองของไต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed methodology) ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Simultaneous qualitative/Quantitative design) เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และผลลัพธ์การใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง 5A เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3-4 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 45 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 45 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติค่าทีอิสระ (Independent t-test)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการพยาบาลโดยใช้โปรแกรมฯ เพื่อชะลอไตเสื่อม มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงด้านการบริโภคอาหาร การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกาย การใช้ยา และการจัดการความเครียด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05 และพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่ลดลง ตัวชี้วัดทางคลินิก ค่าอัตราการกรองของไต eGFR ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาสามารถนำไปพัฒนาระบบบริการพยาบาลและการบริหารเชิงนโยบาย และขยายผลสู่หน่วยบริการเครือข่าย เพื่อติดตามกำกับให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีของผู้ป่วย

References

คณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (บรรณาธิการ). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตวานเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). ศรีเมืองการพิมพ์; 2565.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง : กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค Self-management support : Strategies for promoting disease control. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558; 26(1): 117-127.

Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C. Assessing delivery of five “As” for patient-centered counseling. Health Promotion International 2006; 21(3): 245-55.

วันวิสาข์ สนใจ. ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพไตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสียหน้าที่ ระยะที่ 2. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

ปิยะวดี สุมาลัย, ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร และมณฑิรา จารุเพ็ง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการองค์กรพยาบาลของหัวหน้าพยาบาล:กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี อุตรดิตถ์ 2564; 13(2): 44-161.

สุนีย์รัตน์ สิงห์คำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนโดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม .วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 13(3): 92-109.

Glasgow, R. E., Whitesides, H., Nelson, C. C. and King, D. K. Use of the Patient Assessment of Chronic Illness Care (PACIC) with diabetes patients: relationship to patient characteristics, receipt of care, and self-management. Diabetes Care 2005; 28: 2655-2661.

อัมพร จันทชาติ, มาลี มีแป้น และเพ็ญศรี จาบประไพ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(3): 280-291.

ศิรินทรา ด้วงใส, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองตามแบบ 5 เอ ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารสงขลานครินทร์ 2564; 41(4): 74-85.

ศิรินาถ ตงศิริ, ศุภวิตา แสนศักดิ์, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และสุมัทนา กลางคาร. ทฤษฏีและกรอบแนวคิดของการวิจัยเพื่อนำนโยบายสาธารณสุขไปสู่การปฏิบัติ: การวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อค้นหากลยุทธ์การปฏิบัติตามนโยบายที่มีประสิทธิภาพ.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(1): 7-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27