ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว, ภาระการดูแล, ภาวะซึมเศร้า, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, แรงสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต
และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในจังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 328 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ Multiple Logistic Regression เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต นำเสนอค่า Adjusted OR, 95%CI และ p-value
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่มีคะแนนคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.50 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพชีวิตดีได้แก่ ภาระการดูแลระดับน้อยถึงปานกลาง (Adjusted OR=3.11; 95% Cl: 1.72-5.60; p-value < 0.001) ไม่มีภาวะซึมเศร้า (Adjusted OR=8.77; 95% Cl: 3.20-24.04; p-value < 0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านความเข้าใจระดับเพียงพอและเป็นเลิศ (Adjusted OR=5.44; 95% Cl: 1.12-26.46; p-value < 0.001)
แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ระดับสูง (Adjusted OR=2.97; 95% Cl: 1.63-5.40;
p-value < 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสารระดับสูง (Adjusted OR=9.36; 95% Cl: 3.71-23.61; p-value < 0.001)
ดังนั้น ควรคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้พิการอย่างสม่ำเสมอและส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ รวมถึงการสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้พิการทางการเคลื่อนไหว
References
World Health Organization, World Bank. World Report on Disability [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2011 [cited 2023 May 20]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241564182
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์. ข้อมูลคนพิการ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kalasin.m-society.go.th/4-ข้อมูลคนพิการ/
ชรินทร์ทิพย์ ชัยชุมพล, นันทพร ทองเภา, อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่พิการทางการเคลื่อนไหวของญาติผู้ดูแลในตำบลกระแซงอำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสุขภาพ และการศึกษาพยาบาล 2561; 24(2): 52-66.
Roth DL, Fredman L, Haley WE. Informal caregiving and its impact on health: a reappraisal from population-based studies. Gerontologist 2015; 55(2): 309-319.
ณัฐพงศ์ เป็นลาภ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย. ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลบางโฉลงอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมภิวัฒน์ 2563; 11(3): 1-12.
Prutipinyo C, Maikeow K, Sirichotiratana N. Relationship between caregiver burden and health-related quality of life among primary caregivers of children with cerebral palsy. J Health Res 2018; 32(6): 505-513.
ภัทร์ธนิตา ศรีแสง, วราภรณ์ ดีน้ำจืด. ความรอบรู้ทางสุขภาพในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร: การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20(2): 340-350.
Cobb, S. Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine 1976; 38(5): 300-314.
Hsieh,Y. F., Bloch, D. A., &Larsen, M. D. A simple method of sample s calculation for linear and logistic regression. Statistic in Medicine 1998; 17: 1623-1634.
ทิวากร พระไชยบุญ, พรรณี บัญชรหัตถกิจ, เพชรรัตน์ ศิริสุวรรณ, อัจฉรา นาเมือง, นาฏนภา หีบแก้ว, ปัดชา สุวรรณ์, อลงกรณ์ สุขเรืองกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย 2563; 4(2): 48-56.
อรวรรณ ศิลปะกิจ, รสสุคนธ์ ชมชื่น, ชัชวาล ศิลปะกิจ. คุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบประเมินภาระการดูแล Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2558; 23(1): 12-24.
Arunpongpaisal S, Kongsuk T, Maneethorn N, Maneethorn B, Wannasawek K,Leejongpermpoon J, et al. Development and validity of two-question screening test for depressive disorders in Northeastern Thai community. Asian J Psychiatr 2009; 2: 149-52.
Toçi,E., Burazeri,G., Sorensen,K., Kamberi,H., & Brand,H. Concurrent validation of two key health literacy instruments in a South Eastern European population. Eur J Public Health 2015; 25(3): 482-486.
House JS, Kahn RL. Measures and concepts of social support. In: Cohen S, Syme SL, editors. Social support and health. Orlando: Academic Press; 1985. p. 83-108.
Best, J.W. Research in Education. New Jersey :Prentice Hall, Inc.1977.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของ องค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th/test/ whoqol
ศิริพันธุ์ สาสัตย์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์, ผ่องพรรณ อรุณแสง. การศึกษาสถานการณ์ความต้องการการดูแลและภาระการดูแลของผู้สูงอายุระยะยาว. วารสารพยาบาลศาสตร์2552; 27(2): 24-36.
Rha, S. Y., Park, Y., Song, S. K., Lee, C. E., & Lee, J. Caregiving burden and health-promoting behaviors among the family caregivers of cancer patients. European Journal of Oncology Nursing 2015; 19(2): 174-181.
Pinquart, M., & Sörensen, S. Differences between caregivers and noncaregivers in psychological health and physical health: A meta-analysis. Psychology and Aging 2003; 18(2): 250-267.
Yuen, E. Y., Knight, T., Dodson, S., Ricciardelli, L., Burney, S., & Livingston, P. M. Health literacy of caregivers of adult care recipients: A systematic review. Health & Social Care in the Community 2018; 26(3): e285-e298.
Shahriari, M., Ahmadi, M., Babaee, S., Mehrabi, T., & Sadeghi, M. Effects of a family support program on self-care behaviors in patients with congestive heart failure. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research 2020; 18(2): 152-157.
Chronister, J., Chan, F., Sasson-Gelman, E. J., & Chiu, C.Y. The association of stress-coping variables to quality of life among caregivers of individuals with traumatic brain injury. NeuroRehabilitation 2010; 27(1): 49-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น