การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2 ส. ของแรงงานกัมพูชาที่ทำงานในสถานประกอบการ จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส., แรงงานกัมพูชาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของแรงงานกัมพูชาในสถานประกอบการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะ2 เป็นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ ระยะที่ 3 ผลการพัฒนาความรอบรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Pearson’s Correlation Coefficient Independent Sample t-test Paired Sample t-test
ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ความรอบรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.001 (r= 0.285) การส่งเสริมความรอบรู้ ประกอบด้วย
1) นโยบายและความคาดหวัง 2) กิจกรรมและช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม 3) วิธีการดำเนินงาน
4) การสนับสนุน ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม 1) การเข้าถึง เข้าใจ รู้เท่าทันสื่อ สู่พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง 2) ทักษะสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญ
3) การค้นหาสู่การจัดการตนเอง 4) การตัดสินใจดีชีวีมีสุข ระยะที่ 3 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรอบรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นกว่า
ก่อนการทดลอง และเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.001
ข้อเสนอแนะ รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้ ส่งเสริมให้แรงงานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง
References
World Health Organization Regional Office for Europe. (2016). Global health estimates 2015: DALYs by cause, age, sex, by country and by region, 2000-2015. Geneva: World Health Organization.
ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข และคณะ. การจัดลำดับความสำคัญภาวะสุขภาพและโรคไม่ติดต่อ ของคนต่างด้าวในประเทศไทย.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561; 12(4): 657-667.
รัฐกรณ์ ดอนลาดลี, นิลวรรณ อยู่ภักดี. การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกของแรงงานต่างด้าว อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ 2557-2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560; 11(1): 47- 53.
สานนท์ สังข์ภาพันธ์. แรงงานต่างด้าวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง. 2551. วารสารวิจัยระบบสุขภาพ 2551; (2,ฉบับเสริม 5): 1061-6.
สุวารี เจริญมุขยนันท์, ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, อนุชิต สว่างแจ้ง, ณัฐธิดา สุขเรืองรอง. การศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพกับชาวกัมพูชาที่ชายแดนไทย-กัมพูชา: กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
Pottie K, Greenaway C, Feightner J, Welch V, Swinkels H, Rashid M, et al. Evidence- based clinical guidelines for immigrants and refugees. CMAJ. 2011; 183(12): E824-E9.
Australasian Society for Infectious Diseases and Refugee Health Network of Australia. Recommendations for comprehensive post-arrival health assessment for people from refugee-like backgrounds. 2nd ed. New South Wales: Australasian Society for Infectious Diseases; 2016.
World Health Organization. Health Promotion Glossary. World Health Organization. Geneva: WHO/HPR/HEP/98.1.; 1998.
ดา เรียมริมมะดัน, ศิรินันท์ คำสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42): 79-91.
พัชนา เฮ้งบริบูรณ์, พงศ์ ใจดี, วัลลภ ใจดี และจิรภัค สุวรรณเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานชาวกัมพูชาที่ประกอบอาชีพในจังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(2): 86-101.
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: A challenge for health education and communication strategies into the 21st century. Health International. 2000; 15(3): 259-267.
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. สถิติจำนวนคนต่างด้าว เดือนธันวามคม 2566. กรมการจัดหางาน. กระทรวงแรงงาน; 2567.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2542.
อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. การสุ่มตัวอย่างทางการศึกษา. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ; 2537.
นพมาศ โกศล, ประนอม อุบลกาญจน์, เชาวลิต ลิ่มวิจิตรวงศ์ และนิติยา ศิริแก้ว. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงานสำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10; 2562: 1600-1611.
ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(1): 37-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น