ผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน เพื่อส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร คำนวนอินทร์ รพ.สต.บ้านโคกประสิทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

กิจกรรม 3 ลาน, การรับรู้, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง จำนวน 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน เพื่อส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง, แบบสอบถาม จำนวน 4 ส่วน และผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ระยะเวลาในการศึกษา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอนุมานด้วย Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.67 อายุเฉลี่ย 58.63 ปี  ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน เฉลี่ย 7.80 ปี  ภายหลังการทดลอง พบว่า (1) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.13 คะแนน (95%CI = 0.88-3.39, p-value = 0.001), (2) การรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.24 คะแนน (95%CI = 0.12-0.37,
p-value < 0.001), (3) พฤติกรรมการปฏิบัติในการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวาน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.31 คะแนน (95%CI = 0.20-0.43, p-value < 0.001) และ (4) ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย ลดลง 7.30 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (95%CI = 1.86-12.74, p-value = 0.009)

โดยสรุป ผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน สามารถส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ได้ ควรประยุกต์ใช้ในกลุ่มเสี่ยงพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทคล้ายเคลึงกัน

References

World Health Organization (WHO). Global report on diabetes. Print in France; 2016: 6-8.

International Diabetes Federation (IDF). Diabetes Atlas, Eighth Edition. [n.p.]: International Diabetes Federation. 2017.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ. [อินเทอร์เน็ต] กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=e9fb648fe9f1858878714a410222eef1

รัชนีกร คำนวณอินทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. นำเสนอผลงานวิชาการ มหกรรมการจัดการความรู้จากบทเรียนโควิด 19 และโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2566; 2566.

Bandura, A. Social Learning Theory, New Jersy:Prentice-Hall; 1977.

Lemeshow, S., Hosmer Jr., D.W., Klar, J. and Lwanga, S.K. Adequacy of Sample Size in Health Studies. John Wiley & Sons Ltd., Chichester; 1990. P. 1-5.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2548.

Bloom, B. Taxonomy of Education Objective, Handbook 1: Cognitive Domain. New York: David Mckay; 1975.

Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

อัญญารัตน์ ถวิลรักษ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย; J2024-61; 2567 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nkhospital.moph.go.th/journal.php?id=61

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2): 103-113.

จุฑามาศ จันทร์ฉาย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 7(2): 69-83.

ไชยา ท่าแดง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563. เข้าถึงได้จาก: https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2326/3/60060806.pdf

สุวิมล เหลืองศิริ, เดือนฉาย วงนวนตา, สรศักดิ์ ตันทอง และนุชรี ธรรมขันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลองการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลหนองคาย; J2024-73; 2567 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://nkhospital.moph.go.th/journal.php?id=73

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

คำนวนอินทร์ ร. (2025). ผลของโปรแกรมกิจกรรม 3 ลาน เพื่อส่งเสริมการรับรู้และพัฒนาพฤติกรรมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกประสิทธิ์ อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 135–148. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271254