ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • แก้วใจ มาลีลัย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก https://orcid.org/0000-0002-9336-6057
  • กิตติยาภรณ์ ภูแป้ง โรงพยาบาลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคโควิด-19, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 157 คน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 24-31 ตุลาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมานที่ใช้หาความสัมพันธ์ คือ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.32 อายุเฉลี่ย 19.00 ปี เรียนสาขาวิชาเทคนิคเภสัชกรรม ร้อยละ 29.94 ไม่เคยป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 ร้อยละ 57.96 แรงจูงใจในการป้องกันโรคระดับสูง (equation= 4.08,S.D. = 0.81) และพฤติกรรมการป้องกันโรคระดับสูง (equation= 4.36, S.D. = 0.78) แรงจูงใจในการป้องกันโรค ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงในการป้องกันโรค (r = 0.370) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค (r = 0.557) และความคาดหวังในการป้องกันโรค (r = 0.715) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.05

References

World Health Organization. (2023). Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet]. [cited 2023 May 22]. Available from: https://www.who.int/europe/emergencies/situations/covid-19

Wu YC, Chen CS, Chan YJ. The outbreak of COVID-19: An overview. J Chin Med Assoc 2020; 83(3): 217-220.

Feng S, Shen C, Xia N, Song W, Fan M, Cowling BJ. Rational use of face masks in the COVID-19 pandemic. Lancet Respir Med 2020; 8: 434-36.

Courtemanche C, Garuccio J, Le A, Pinkston J, Yelowitz A. Strong social distancing measures in The United States reduced the COVID-19 growth rate. Health Aff (Millwood). 2020; 39(7): 1237-1246. doi: 10.1377/hlthaff.2020.00608

Emergency Operations Center, Department of Disease Control (EOC DDC). Report of the situation of Coronavirus (COVID-19) [Internet]. [cited 2020 Sep 3]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/10320 200330051606.PDF

Sharma A, Ahmad Farouk I, Lal SK. COVID-19: A review on the novel coronavirus disease evolution, transmission, detection, control and prevention. Viruses. 2021; 13(2): 202.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. (2563, 29 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1.

Cucinotta D, Vanelli M. WHO Declares COVID-19 a Pandemic. Acta Biomed 2020; 91(1):

-160. doi:10.23750/abm.v91i1.9397.

Aristovnik, A., Keržič, D., Ravšelj, D., Tomaževič, N., & Umek, L. Impacts of the COVID-19 pandemic on life of higher education students: A global perspective. Sustainability 2020; 12(20): 8438.

White, M.S., Omer, M, Mohammad, G.N. Knowledge, attitude and practice on prevention of airborne and droplet infections during the outbreak of corona virus among the College students in University of Bisha, Saudi Arabia. Int J Curr Res. 2020; 11: 20773-76.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

(โควิด19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(4): 158-168.

World Health Organization. (2022). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers on vaccine. [Internet]. [cited 2023 Oct 2]. Available from: https://www.who.int/thailand/

emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-vaccines

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223 ง . หน้า 2.

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดตรายวัน. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมือ 1 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://public.tableau.com/views/SATCOVIDDashboard/1-dash-tiles?:showVizHome=no

Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change. J Psychol: Interdiscip Appl. 1975; 91(1): 93-114. https://doi.org/10.1080/00223980.1975.9915803

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30: 607-610.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1989). Research in education (6thEdition). Englewoods Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

ศศินา สิมพงษ์, ศิริกาญน์ อุปสิทธิ์, ศิริพร นครลา และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2564; 10(2): 148-158.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(37): 179-195.

จิรายุ ปัทมะ และวิรยา บุญรินทร์. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2566; 12(3): 14-23.

ภิษณี วิจันทึก และธีระพงษ์ พรมจันทร์. แรงจูงใจในการป้องกันโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2565; 37(3): 244-253.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27