ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกัน โรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์, ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม, พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท จำนวน 46 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ paired t-test และ Independent t-test กำหนดความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์มีประสิทธิผลในการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม และทำให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น จึงควรมีการส่งเสริมและนำไปใช้ต่อไป
References
คณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย. อนาคตของผู้สูงอายุไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ15 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=155
พงศ์สุรางค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12: 182-191.
ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา. โรคข้อเสื่อมปัญหาหลักในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-Osteoarthritis
ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทย์. การป้องกันและชะลอภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุวัยต้นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26: 105-110.
จิตราภรณ์ โพธิ์อุ่น, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และอรพินท์ สีขาว. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13: 393-403.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท. สถิติผู้สูงอายุ. ชัยนาท: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท; 2566.
ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. อิทธิพลของแอพพลิเคชั่นไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ 2560; 1: 75-88.
ถนอม กองใจ และอริษา ทาทอง. การพัฒนาระบบแจ้งเตือนกิจกรรมและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2565; 9: 32-45.
จีระศักดิ์ จันดี, สมพิศ ซอกลม, อดุลย์ศักดิ์ ศรีละโคตร, สนุก สิงห์มาตร และพิทักษ์ แสนจันทร์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อแอพพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุบ้านกุดไกรสร ตำบลหนองหมี อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ 2566; 5: 271-282.
บัวรัตน์ ศรีนิล. เอกสารประกอบการเรียน การออกแบบวิจัยธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การออกแบบสอบถาม และการเลือกตัวอย่าง. เชียงใหม่: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.
Bloom BSJ. Taxonomy of Education Objective, Hand Book 1: Congnitive Domain. New York: David Mokey; 1971.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16: 623-641.
LINE Corporation. LINE for business [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://lineforbusiness.com/th/service/line-oa-features
ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข,วัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ฝนวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562; 27: 156-165.
สุจิตราภรณ์ ทับครอง ,เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, นิตยา วิโรจนะ, พาจนา ดวงจันท์. ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอฟพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และความเข้าใจโรคเบาหวานของบุคลากรในสถานศึกษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561; 19: 78-87
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น