การพัฒนารูปแบบการให้บริการสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ใน ARV คลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ วิญญกูล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • ทมาภรณ์ สุขสวรรค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

การตีตรา, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, การตีตรา ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ การทบทวนตนเอง, บุคลากรทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการให้บริการสำหรับบุคลากรทางการพยาบาล เพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการ และบุคลากรทางการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อความรู้แบบประเมินความรู้ ประเมินความพร้อมสำหรับบุคลากร สังเกตการณ์การปฏิบัติ
ประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินการตีตรา สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 การมีรูปแบบช่วยให้บุคลากรเกิดความรู้ ความเข้าใจ เคารพสิทธิให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระยะที่ 2 (1) คะแนนความรู้เรื่องเอชไอวีของบุคลากรทางการพยาบาลหลังสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) คะแนนการปฏิบัติสำหรับบุคลากรพยาบาลการให้บริการหลังเข้าร่วมพัฒนารูปแบบสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) บุคลากรทางการพยาบาลลดการตีตราต่อผู้รับบริการอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 85.97

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพัฒนารูปแบบนี้ทำให้บุคลากรมีทัศนคติเชิงบวก มีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสม ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สามารถนำไปใช้กับทุกสหวิชาชีพ และมีข้อเสนอแนะให้สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2557-2559. ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานฉบับสมบูรณ์ ผลการสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากวัณโรคในหน่วยบริการสุขภาพภาครัฐในพื้นที่เฝ้าระวังของประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2564. พฤษภาคม 2565.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. ร่วมรณรงค์วันเอดส์โลก 2565 "Equalize : ทำให้เท่าเทียม". [อินเทอร์เน็ต]. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/brc/news.php?news= 30043&deptcode=brc

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. การสำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. สำนักโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1549120240328063459.pdf

วันทนีย์ ธารณธนบูลย์, พัชมณ เจริญนาวี. การตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ เขตบริการสุขภาพที่ 10. วารสารโรคเอดส์ 2566; 35(1): 14-32.

สมยศ เจริญสุข, อุมาวี เหลาทอง, ภูเบศร์ แสงสว่าง, เนตร หงษ์ไกรเลิศ. การบริการที่ไม่ตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของผู้ให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 8(4): 24-34.

จรีรัตน์ อินทวัฒน์, ธนพล บรรดาศักดิ์, นฤมล จันทรเกษม. กระบวนทัศน์ในการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: บทเรียนจากค่ายคิลานธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2560; 5(2): 376-387.

Israel GD. Determining sample size. Program Evaluation and Organizational Development IFAS. University of Florida 1992; PEOD-6.

สุภัทรา นาคะผิว. คู่มือสำหรับวิทยากร เพื่อฝึกอบรมสร้างความเข้าใจและป้องกันการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี และประชากรกลุ่มเฉพาะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ. ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2555. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์; 2555.

ณัฏฐวัฒน์ ตั้งปฐมวงศ์. การสื่อสารที่ส่งผลต่อการตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์: ภาพตัวแทนและความหมายต่อคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ. วารสารโรคเอดส์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562;103-115.

วรรณี จิ๋วปัญญา. ปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลและทัศนคติในการตีตราและเลือกปฏิบัติของผู้ให้บริการผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ในสถานบริการสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2564; 15(1):30-40.

สุชาดา อวยจินดา. Mentoring coaching for Jorpor Series EP10 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 มี.ค. 4 [เข้าถึงเมื่อ 4 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ohswa.or.th/17744779/mentoring-coaching-for-jorpor-series-ep10

กรรณิการ์ แสนสุภา, นเรศ กันธะวงค์. การจัดการตนเอง: ทักษะในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร. 2564;1(1):25-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

วิญญกูล ว., & สุขสวรรค์ ท. (2025). การพัฒนารูปแบบการให้บริการสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อลดการตีตราและเลือกปฏิบัติในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ใน ARV คลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 95–109. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271546