การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตชนบท อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ชาตรี เชิดนาม หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุรีรัตน์ สืบสันต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วิภาดา พนากอบกิจ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

พลัดตกหกล้ม, สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย, ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตชนบท ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ มี 4 ขั้นตอน    1) ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน 2) กำหนดเครื่องมือวิจัย 3) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามผู้สูงอายุ จำนวน 319 คน 4) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ
การประชุมระดมสมองสนทนากลุ่ม จำนวน 26 คน ได้แก่ ผู้ดูแลระบบการดูแลผู้สูงอายุ (CM) 1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (CG) 4 คน นักบริบาลผู้สูงอายุ 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 20 คน คัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการแจกแจงความถี่ ร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดสภาพแวดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ปรับพื้นทางเดิน ให้เรียบ ไม่ขัดมัน ไร้สิ่งกีดขวาง 2) ปรับสวิตซ์เปิด ปิดไฟ ให้ใช้งานได้สะดวก ปลอดภัย ให้แสงสว่างเพียงพอ 3) ห้องครัว จัดอุปกรณ์ เป็นหมวดหมู่ มีโต๊ะ เก้าอี้ นั่งรับประทานอาหาร 4) ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นคอนกรีตไม่ขัดมัน 5) สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีช่องระบายอากาศ ถ่ายเทได้ดี 6) สภาพแวดล้อมภายนอกบ้านพื้นทางเดินเป็นระดับเดียวกัน

ดังนั้น ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ให้การดูแล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุทั้งภายในบ้าน และนอกบ้านให้ปลอดภัย ป้องกันการพลัดตกหกล้ม

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2563. [อินเทอร์เน็ต]. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1635826373-975_0.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaitgri.org/ ?p=40208

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานข้อมูลสถานการณ์สุขภาพของผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต]. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC); 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/

tinymce/KPI2564/KPI121/25640112111.pdf

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การรวบรวม การประมวลผมข้อมูลและจัดทำรายงานผลดำเนินงานเครื่องมือประเมินความรอบรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท. [อินเทอร์เน็ต]. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th/upload/311358.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20152309144546_1.pdf

วิทยา จันตุ. การพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมโดยการใช้สื่อกันตรึมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์; 2562.

องค์การบริหารส่วนตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. บริบทพื้นที่ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bakdai.go.th.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ. วิทยพัฒน์; 2553.

Omery A. Phenomenology: a method for nursing research. Adv Nurs Sci 1983; 5: 49-63.

จริยา อินทรรัศมี และคณะ. กระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุกับผู้ดูแลในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านของผู้สูงอายุเขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 6. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hpci.anamai.moph.go.th/hl/res/ResFile/2560005002.pdf

นิสาชล จนทะระ, ศิลป์ณรงค์ ฉวีพัฒน์, ฆัมภิชา ตันติสันติสม. การพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์ควบคุมหลอดไฟด้วยคำสั่งเสียง. ใน : การประชุมวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564; เข้าถึงได้จาก: https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/18672021-03-04.pdf

ชาตรี หอมเขียว, สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์, วรพงค์ บุญช่วยแทน. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุไทย. [อินเทอร์เน็ต]. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202309/jtWvyvrdUi89djdOQ70E/jtWvyvrdUi89djdOQ70E.pdf

สุขสันติ์ หอพิบูลสุข, อวิรุทธิ์ ชินสกุลจิตนิวัฒน์, พรศิริ จงกล, ณัฐฐิตา เพชรประไพ, ปัทมา วาจามั่น. สถานสงเคราะห์คนชราอาคารเขียวต้นแบบตามหลักวิศวกรรมปัจจัยมนุษย์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://hdl.handle.net/11228/4313.

วิสาขา ภู่เจริญ, ยลดา พงค์สุภา, วิภาวรรณ เพียรแย้ม, ภารณ วงศ์จันทร์, สิริสุดา หนูทิมทอง. การพัฒนารูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นนทบุรี: [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4783?locale-attribute=th.

นันทวุฒิ จำปางาม. การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม: สุขภาวะที่ดีในสังคมผู้สูงวัย. ว.วิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564]; 13(2): 63. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article /view/207877/144693.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

เชิดนาม ช., สืบสันต์ ส., & พนากอบกิจ ว. (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในเขตชนบท อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 55–67. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/271955