ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทของเขตพื้นที่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วัลลาลักษณ์ พลซื่อ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
  • ชวัลลักษณ์ ศิริแว่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อนุสิทธิ์ ศรีพันธ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยการทำนาย, การกำเริบซ้ำ, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ของเขตพื้นที่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 163 คน โดยใช้แบบสอบถามดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐาน เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และ 75ใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้นหลายตัวแปร และการประมาณช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของ Adjusted Odds ratio

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ ผู้ป่วยจิตเภทมีรายได้ต่ำกว่า 1,500 บาท มีโอกาสเกิดอาการกำเริบซ้ำมากกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่มีรายได้ 1,500 บาท ขึ้นไป เป็น 6.28 เท่า (AOR = 6.28, 95%CI = 1.55-25.48) ผู้ป่วยจิตเภท ที่ประกอบอาชีพมีโอกาสเกิดอาการกำเริบซ้ำน้อยกว่าผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เป็น 0.14 เท่า (AOR = 0.14, 95%C I= 0.03-0.63) ผู้ป่วยจิตเภทที่เคยใช้สารเสพติด จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 99 [(1-0.01)*100] (AOR = 0.01, 95%CI = 0.01-0.13) ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรู้ที่ดี จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 97 [(1-0.03)*100] (AOR = 0.03, 95%CI = 0.01-0.23) และผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่ดี จะป้องกันการเกิดอาการกำเริบซ้ำ ร้อยละ 79 [(1-0.21)*100] (AOR = 0.21, 95%CI=0.06-0.68) ตัวแปรอื่นข้อมูลไม่เพียงพอที่ระบุความสัมพันธ์

References

กรมสุขภาพจิต. สถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชประเทศไทย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2565.

จุภฏ พรมสีดา. (2565). พ.ร.บ.สุขภาพจิต ระบุชัด พบ ‘ผู้มีภาวะอันตราย-ต้องรักษา’ สามารถแจ้ง พนักงานปกครอง ให้ส่งตัวไปรักษาต่อที่ รพ. โดยกรมสุขภาพจิต เน้นย้ำสังคมร่วมใจเฝ้าระวังพร้อมแจ้ง เหตุที่อาจนำมาซึ่งความรุนแรง ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิตฯ ชี้ครอบครัวมีส่วนสำคัญในสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วย อย่างใกล้ชิดไม่ขาดการรักษา กินยาอย่างสม่ำเสมอ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2565.

โรงพยาบาลหนองพอก. รายงานผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลหนองพอก. หนองพอก: โรงพยาบาลหนองพอก, 2567.

กนกรัตน์ ชัยนุ, กิตติยา ทองสุข และมิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง. ปัจจัยที่มีผลต่ออาการกำเริบซ้ำในผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(1): 15-24.

หทัยกาญจน์ เสียงเพราะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่กลับมารักษาซ้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารการแพทย์ 2564; 36(2): 413-426.

บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์. อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวช. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข, 2562.

วุฒิชัย ชวนชนก และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2565; 36(3): 81-97.

กิ่งกาญจน์ ไชยบุศย์ และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจิตเภท และใช้สารเสพติดในชุมชนเขตภาค วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(1): 139-159.

Cochran, W. G. Sampling techniques. New York: John Wiley and Sons, Inc., 1953.

Bloom, B.S. Taxonomy of Education. New York : David McKay Company Inc., 1975.

Best, B.S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: David Mackay, 1981.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-01

How to Cite

พลซื่อ ว., ศิริแว่น ช., & ศรีพันธ์ อ. (2025). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการกำเริบซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทของเขตพื้นที่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 110–121. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/272217