การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายส่วนล่างในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการล้มในโรงพยาบาลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ความแข็งแรง, โปรแกรมการออกกำลังกายป้องกันการล้มบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา 1)เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้ม 2) เพื่อดูประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยใช้แบบทดสอบความสี่ยงการล้ม Time up and go test-TUGT และความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา five times sit to stand -FTSST กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงล้ม 44 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นผู้สูงอายุเขาแก้วและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเป็นผู้สูงอายุโรงพยาบาลสรรพยา การดำเนินงานวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรม ระยะที่ 3 การสรุปผลและประเมินผลโดยใช้ TUGT และ FTSST ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณที่ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ Paired-T-test และ Independent T-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า ผู้สูงอายุอำเภอสรรพยามีอุบัติการณ์ล้มเพิ่มขึ้น และยังไม่มีโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมการออกกำลังกาย ระยะที่ 3 พบว่า กลุ่มควบคุมมีค่า TUGT และ FTSST ก่อนและหลังไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value = 0.05 แต่กลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ระยะเวลา TUGT และ FTSST ลดลงแตกต่างจากก่อนการได้รับโปรแกรมและแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.01.
งานวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อยอดพัฒนาเรื่องการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุได้
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักพิมพ์พริ้นเทอรรี่; 2560.
กานดา ชัยภิญโญ. กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ. นครนายก .ศูนย์กายภาพบำบัดและการเคลื่อนไหว คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2551.
กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2566. กลุ่มติดตามและประเมินผล กองยุทธศาสตร์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคดีไซน์; 2567.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายการผลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. 2567.
ศศิวิมล วรรณพงษ์, เสาวนีย์ นาคมะเริง, สุรัวดี เบนเน็ตต์, น้อมจิตต์ นวลเนตร. ผลของการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการล้ม. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 310-316.
พุฒิพงศ์ พลคำฮัก, วินัฐ ดวงแสนจันทร์, อรุณรัตน์ ศรีทะวงษ์, ใหม่ทิพย์ สิทธิตัน. การศึกษาค่าตัดแบ่งที่เหมาสมของการทดสอบการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ในการทำนายความเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(4): 334-8.
พุฒิพงศ์ พลคำฮัก, บุญสิตา สุวรรณกุล, อรุณรัตน์ ศรีทะวงษ์. ความเที่ยงตรงของการทดสอบ ลุกจากท่านั่งขึ้นยืน 5 ครั้ง สำหรับประเมินความเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุชุมชน. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2559; 49(2): 236-42.
อโณทัย สุมากรณ์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกรกุล, ไชยยงค์ จรเกตุ. ความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาต้นขาด้วยวิธีการทดสอบลุก-นั่ง 5 ครั้งในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(1): 381-387.
อโณทัย สุมากรณ์. ประสิทธิผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่ออาการปวดและการทำงานของร่างกายในอาสาสมัครหญิงที่มีข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรง.ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขากายภาพบำบัด. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ปารีส ผุยพานิชย์สิริ, สมพร สังขรัตน์, ศิรินันท์ บริพันธกุล, ศศิภา จินาจิ้น, กัลยาพร นันทชัย, บุษย์ณกมล เรืองรักเรียน. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการหกล้มต่อการเดินและความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกรมการแพทย์ 2564; 46(4): 74-80.
ชญานิษฐ์ เอี่ยวสกุล และสายธิดา ลาภอนันตสิน. ปัจจัยเสี่ยงการล้มด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวขณะเดินในผู้สูงอายุวัยต้น เขตเทศบาลตำบลเสาธงหิน จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566; 32(6): 1000-10014.
มโณชา พร้อมมูล. ผลการออกกำลังแบบตารางก้าวเดินต่อความสามารถในการทรงตัวและการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดปกติหรือบกพร่องเล็กน้อย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย.คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.
ภัณฑิลา ผ่องอำไพ, สุธีรา ฮุ่นตระกูล, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วาราสารแพทย์นาวี 2561; 45(2): 311-327.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น