ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ณภัทร บูรณะพลานามัย นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • รัชนี สร้างนานอก นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • อมินตรา ภาระไพร นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ธนสิทธิ์ ศรีคำเวียง นักศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • วิชุดา จันทะศิลป์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

แนวคิด PRECEDE Model, ปัจจัย, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 224 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และ Fisher’s exact test

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.60 มีอายุเฉลี่ย 61.40 ปี และมีระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 6.18 ปี พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ปัจจัยเอื้อด้านปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสริมด้านการได้รับการสนับสนุนจากสังคม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและออกแบบกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานรวมถึงการจัดการดูแลสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

References

International Diabetes Federation Atlas. IDF Diabetes Atlas, 10th edition. Brussels: Belgium; 2021.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โลกเบาหวานของประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddc.moph.go.th/uploads

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.

American Diabetes Association. Economic costs of diabetes in the U.S in 2017. DiabetesCare 2018; 41(5): 917-928.

Ministry of public health. Diabetes mellitus 2009 [Internet]. 2024 [Cited 2024 January 15]. Available from: http://www.moph.go.th

สะอาด มุ่งสิน. เอกสารประกอบการเรียนการสอนแนวคิดและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bcnsp.ac.th/

Green lW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: Emily Barrosse; 2005.

Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences: Wiley; 1978.

ศุภรัฐ พูนกล้า และสุขสิน เอกา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. ราชาวดีวารสาร 2562; 9(1): 30-45.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. 1971.

Best, J.W. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

นาตยา พีระวรรณกุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2565; 3(3): 38-55.

สุวรรณี สร้อยสงค์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2563; 14(1): 35-47.

วิชุดา จันทะศิลป์, พรรณี บัญชรหัตถกิจ, ทัศพร ชูศักดิ์ และรัฐพล ศิลปรัศมี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในจังหวัดนครราชสีมา 2567; 18(2): 498-511.

ลักษณา พงษ์ภุมรา, ศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ 2560; 20(40): 67-76.

อมรรัตน์ สุวรรณลาภ และสาโรจน์ สาคู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามหลักธรรมานามัย สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บางขันแตก อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2566; 4(1): 78-88.

เกรียงไกร จุ่นเจริญ, วพัณณ์ชิตา เหรียญรักวงศ์, วิภา พนัสนาชี, พรรนิภา ศรีปน และวิชชุดา พลกันยา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการใน ศูนย์บริการสาธารณสุข กลุ่มกรุงเทพตะวันออก. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/422/R2R

วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2565; 16(2): 51-63.

บุญนาค กระแสเทพ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2565; 3(1): 111-125.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-03

How to Cite

บูรณะพลานามัย ณ., สร้างนานอก ร., ภาระไพร อ., ศรีคำเวียง ธ., & จันทะศิลป์ ว. (2025). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 205–217. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/273643