ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พฤติกรรมสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ประชากร คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าดินแดง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จำนวน 146 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ปัจจัยด้านการรับรู้ ได้แก่ ปัจจัยการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคเบาหวาน ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคเบาหวาน ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก; 2566.
นันทพร ระบิน. 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก WORLD DIABETES DAY [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cmu.ac.th/th/article/1516e9d1-9cb9-40fa-ba98-9285046ddfe6: 2566
สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิตย์ นิรมิตมหาปัญญา, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, วีระศักดิ์ ศรินนภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus). การแพทย์ไทย 2554-2557; 2564.
Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. S. The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine. 1981; 4(4): 381-405.
เอกภพ จันทร์สุคนธ์ และปัทมา สุพรรณกุล. แรงสนับสนุนทางสังคมกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563; 14(2): 1-7.
Becker, M. HThe health belief model and sick role behavior. Health education monographs. 1974; 2(4): 409-419.
มงคล การุณงามพรรณ, ภาวดี รามสิทธิ์, ศิริญญา ชุ่มเต็ม.ผลของการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน และความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ 2567; 10(1): 50-63.
Best, John. Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc. 1977.
Bandura, A. Socail Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. U.S.A.: Plentice-Hall; 1986.
วิสุทธิ์ โนจิตต์, สุทิศา สงวนสัจ, สุวัฒนา เกิดเมือง, ศุภสิริ สุขสม, บุษยา ดําคํา, จันทิมา นวะมะวัฒนุ์. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 2562; 8(2): 200-212.
ดวงรัตน์ หาญพุฒ และนวลพรรณ ระโหฐาน. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลด่านช้าง. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2566; 2(2): 127-138.
สุพรรษา สุวรรณสิรินนท์ และรัฐพล ไกรกลาง. การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 1 เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566; 9(3): 136-146.
นิสิต ศรีพุ่ม, อมรศักดิ์ โพธิ์อ้ำ, เชิดพงษ์ ทองสุข. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2564; 2(3): 17-29.
ชมัยพร เสี่ยงสีน้ำ. น้ำปัจจัยที่่มีอิทธิพลต่อพฤตกรรมีการควบคุมีระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่่ 2 โรงพยาบาลเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567; 5(3): 339-351.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น