ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณฐา เมธาบุษยาธร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี
  • ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี
  • ขวัญเรือน ชัยนันท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, ความรอบรู้เรื่องการมีกิจกรรมทางกาย, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2, แรงจูงใจในการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายวิธีสำรวจแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีกิจกรรมทางกาย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรอบรู้และแรงจูงใจกับการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน 401 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.12 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษาและอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกาย อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการมีกิจกรรมทางกาย (r = -0.15) ความรอบรู้เรื่องการมีกิจกรรมทางกายและแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (r = 0.57 และ 0.38 ตามลำดับ) และ 3) ความรอบรู้เรื่องการมีกิจกรรมทางกายและแรงจูงใจในการป้องกันโรคมีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 26 (Adjusted R2 = 0.26)

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมความรอบรู้และสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีต่อเนื่อง

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต] 2567 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/

อัจฉรา สุวรรณนาคินทร์. คู่มือการพยาบาล การดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลในผู้เป็นเบาหวาน. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

กรมอนามัย. ข้อแนะนำการออกกำลังกายในผู้เป็นโรคเบาหวาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ. ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

World Health Organization. Classification of Diabetes Mellitus 2019. World Health Organization; 2019.

Conner M. & Norman P. PREDICTING HEALTH BEHAVIOUR: RESEARCH AND PRACTICE WITH SOCIAL COGNITION MODELS. (2nd ed). UK: Bell & Bain Ltd.; 2005.

สำนักงานสถิติจังหวัดนครปฐม. รายงานสถิติจังหวัดนครปฐม พ.ศ.2567. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2567.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต] 2567 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: http//hdcservice.moph.go.th

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610.

Bloom, A. The education of democratic man: Emile. Daedalus Journal 1979; 25(1): 135-153.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิสมัย เสรีขจรกิจเจริญ. ระเบียบวิธีวิจัยทางการสาธารณสุข: กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์ จำกัด; 2560.

ธีรนุช ชละเอม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560; 10(2): 20-32.

จุฬาลักษณ์ จันทร์หอม. ปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมทางกายของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563; 28(3): 546-560.

Ali Fattahi et. al. Physical Activity and Its Related Factors Among Type 2 Diabetic Patients in Hamadan west of Iran. IRANIAN JOURNAL OF DIABETES AND OBESITY 2014; 6(2): 85-92.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(ฉบับพิเศษ): 1-11.

วรรณี จิวสืบพงษ์ และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15(3): 30-43.

Alireza Didarloo.et. al. Factors Influencing Physical Activity Behavior among Iranian Women with Type 2 Diabetes Using the Extended Theory of Reasoned Action. DIABETES & MET ABOLISM JOURNAL 2011; 35(1): 513-522.

นิชาภา เหมือนภาค และคณะ. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2564; 2(4): 110-123.

ภาวินี แพงสุข และคณะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2563; 40(1): 71-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-09

How to Cite

เมธาบุษยาธร ณ., ศรีลาธรรม ท., วสีวีรสิว์ ว., & ชัยนันท์ ข. (2025). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 18(1), 218–231. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/274280