รูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนประถมศึกษาตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สิริรัตน์ วีระเดช
นิรุวรรณ เทิรนโบล์
สุพัตรา วัฒนเสน

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีโดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น ระยะปฏิบัติการ และระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานทันตสาธารณสุขในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเขื่องใน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครูประจำชั้น ผู้นำนักเรียน และผู้ปกครอง รวมจำนวน 24 คน กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเขื่องในเจริญราษฎร์ จำนวน 125 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือน เมษายน – กันยายน  2559 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติ Paired Sample t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


                 หลังการพัฒนาพบว่า นักเรียนมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการดูแลทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น มีสภาวะทันตสุขภาพดีขึ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001)


                 ปัจจัยความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย สามารถนำไปขยายผลและประยุกต์ใช้ในนักเรียนชั้นอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. โครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี. [ออนไลน์]2548 [อ้างเมื่อ 15 ตุลาคม 2558] จากhttp://www.anamai.ecgates.com/

2. กองทันตสาธารณสุขกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่6 พ.ศ. 2549-2550ประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2551.

3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2558.

4. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข แนวการดำเนินงานโครงการประจำปี 2557;2557.

5. ฝ่ายทันตกรรมโรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี 2555-2557; 2557.

6. วัชราภรณ์ เชื่อมกลาง. การพัฒนาศักยภาพการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนพิทักษ์ภูเบนทร์ ตำบลโนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนคราชสีมา.สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2555.

7. จักรกฤษณ์ พลราชม สุปรียา ตันสกุล ธราดล เก่งการพานิช และตุ๋ย ยังน้อย. กระบวนการ เรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนชั้น ประถมศึกษา อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร. วารสารสุขศึกษา 2550; 30 (106):1-16.