การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการส่งเสริมทันตสุขภาพ ในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบ, รูปแบบการมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ทันตสุขภาพ, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและมีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 และข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปประเด็นโดยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการประชุมแบบมีส่วนร่วม (AIC) โดยครอบครัวและชุมชน พบว่า ขั้นตอนการวางแผนมีการค้นหาปัญหาและระบุปัญหา พบปัญหาโรคฟันผุ (ร้อยละ 57.1) เป็นปัญหาสำคัญที่สุด และจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพภายใต้นโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพของท้องถิ่น ลักษณะเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการ อยู่ในแนวดิ่ง ทิศทางจากบนลงล่างและล่างขึ้นบน มีระดับผู้ปฏิบัติอยู่ล่างสุดและผู้กำหนดนโยบายอยู่บนสุด ส่วนในแนวระนาบเดียวกันจะมีการแบ่งงานและความรับผิดชอบกัน 3 กลุ่มหลัก 7 กิจกรรม เป็นผลพัฒนาได้รูปแบบ PARDO MODEL ได้แก่ (1) ร่วมค้นหาปัญหาและระบุปัญหา และกำหนดแนวทาง (Participation Planning ; P) (2) ร่วมปฏิบัติการ (Acting ; A) (3) ร่วมสังเกตการณ์(Observing ; O) (4) ร่วมสะท้อนคิด (Reflecting ; R) และการพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง Development ; D และภาพรวมระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.9, S.D. = 0.1) ภายหลังการใช้รูปแบบ มีการประเมินผล 3 มิติ พบว่า ด้านผลผลิต ภายหลังการอบรม เด็กนักเรียนประถมศึกษา มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติทางทันตสุขภาพ เพิ่มขึ้น และครอบครัวและชุมชน มีการปฏิบัติทางทันตสุขภาพของเด็กนักเรียนประถมศึกษา เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เด็กนักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและอนามัยช่องปากที่ดีขึ้น ส่วนด้านประสิทธิภาพได้รับการสนับสนุนและอนุมัติงบประมาณโดย อบต. ร้อยละ 100 และด้านผลลัพธ์ทางทันตสุขภาพเพื่อควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ในการป้องกันโรคฟันผุ ก่อนทดลองมีคะแนนเฉลี่ยปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ เท่ากับ 2.02 (S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมาก หลังทดลองคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.16 (S.D. = 0.63) อยู่ในระดับปานกลาง ภายหลังเด็กนักเรียนมีปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ ลดลงกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p=0.001)
References
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7. เอกสารอัดสำเนา. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย; 2556.
3. จักรวรรดิ์ กุลนะ และคณะ. ความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพและศึกษาสภาวะทันตสุขภาพ ของเด็กวัยเรียนโรงเรียนประถมศึกษาที่มีสัญญาความร่วมมือ (MOU) กับวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. เอกสารไม่ตีพิมพ์; 2558.
4. วรรณดี จันทรศิริ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า: หมู่ที่ 8 ตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 3 ชลบุรี; 2545.
5. สุนี วงศ์คงคาเทพ. นวัตกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัวเพื่อลดการบริโภคหวานของเด็ก. กองทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ออนปริ๊นช็อพ; 2550.
6. มาธุพร พลพงษ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; ปีที่ 4 ฉบับพิเศษ เมษายน 2560: หน้า S243-S259.
7. นพดลย์ เพชระ. การใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC ในการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2551. 2560 [อ้างเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560] จาก https://www.gotoknow.org/
8. ทิพาพร เสถียรศักดิ์พงศ์. การสร้างเสริมพลังชุมชนในการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กประถมศึกษา. 2550 [อ้างเมื่อ 1 มีนาคม 2560] จาก https://www.icoh.anamai.moph.go.th/thai/files/Night%20Safari/06.ppt
9. วิมลสิริ พรหมมูล. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมทันตสุขภาพเพื่อป้องกันโรคฟันผุของนักเรียน ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านปราสาท กิ่งอำเภอบ้านด่าน ตำบลปราสาท จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล