การใช้สมุนไพรบรรเทาโรคในช่องปาก

ผู้แต่ง

  • สมตระกูล ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
  • นิพนธ์ แก้วต่าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

สมุนไพร, โรคทางช่องปาก

บทคัดย่อ

         ปัญหาสุขภาพช่องปากยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในงานสาธารณสุข ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากระบบการบดเคี้ยวที่มาจากปัญหาโรคทางช่องปากนั้นทำให้ร่างกายอ่อนเพลีบ เกิดความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตประจำวัน การใช้สมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก โดยการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การป้องกันฟันผุการใช้เพื่อบรรเทาอาการอักเสบจากแผลในช่องปาก และลดการอักเสบที่เกิดจากเหงือกอักเสบปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจการใช้สมุนไพรกันเพิ่มมากขึ้น โดยการรวบรวมเอกสารและผลงานวิจัย สรรพคุณของสมุนไพรที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก จำนวน 18  เรื่อง และวิเคราะห์หมวดหมู่ได้5 หมวดหมู่ พบว่า1) สมุนไพรที่ยับยั้งทำลายเชื้อ สเตร็ปโตค็อกคัส มิวเทนส์ที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ข่อย มังคุด ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทะลายโจร เสลดพังพอนตัวผู้ ฝรั่ง และใบบัวบก 2) สมุนไพรที่บรรเทาอาการอักเสบภายในช่องปาก มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ ว่านหางจระเข้ และผักคราดหัวแหวน 3) สมุนไพรที่ต้านการอักเสบที่ก่อให้เกิดเหงือกอักเสบ มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ ข่อยและตะไคร้  4) สมุนไพรที่ยับยั้งการยืดเกาะของเชื้อ แคนดิตาอัลบิคาน บนผิวอะคริลิกมีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ ข่อยและตะไคร้ และ 5) สมุนไพรที่ใช้ร่วมกับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ มีทั้งหมด  1 ชนิดได้แก่ ข่อย

References

1. กรรัตน์ อินทรหนองไผ่. ผลทางคลินิกและทางจุลชีววิทยาของการใช้สารสกัดจากใบข่อยฉีดล้างในร่องลึกปริทันต์ร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังในระยะคงสภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

2 พรพรรณ ก่อเกียรติ. ความปลอดภัยทางคลินิก ผลทางคลินิกและทางจุลชีววิทยาของการใช้เจลผสมสารสกัดจากใบข่อยใส่ลงไปในร่องลึกปริทันต์ของฟันกรามร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

3. พิชญา สุทินฤกษ์. ผลการด้านการอักเสบและการละลายตัวของกระดูกของสารสกัดจากใบข่อยในเซล์สร้างเส้นใยเหงือกมนุษย์ต่อการกระตุ้นด้วยเชื้อก่อโรคปริทันต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

4. วยุรี จุมพลหล้า. ผลของสารสกัดจากใบข่อยต่อการตอบสนองการอักเสบโดยเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกมนุษย์ที่ถูกระตุ้นด้วยเชื้อพอร์ไฟโรโมแนสจิงจิวาลิส. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

5. สุวิมล ทวีชัยศุภพงษ์ ปรมาภรณ์ กลั่นฤทธิ์ โสพิศ วงศ์คำ และคณะ รายงานการวิจัยเรื่องผลของสารสกัดจากใบข่อยต่อการเกาะของเชื้อราแคนดิตา อัลบิเคนส์บนพื้นผิวอะคริลิกขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

6. สุวิมล ทวีชัยศุภพงษ์ โสพิศ วงศ์คำ สุภาภรณ์ เจริญสุข และคณะ. ผลของสารสกัดจากใบข่อยที่ผสมในน้ำกลั่นต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำลายและจำนวนเชื้อจุลชีพในช่องปาก ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2541.

7. สุวิมล ทีวชัยศุภพงษ์ โสพิศ วงศ์คำ อารียา รัตนทองคำ และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องผลของการใช้น้ำยาบ้วนปากผสมสารสกัดจากใบข่อยต่อน้ำลายและเชื้อจุลินทรีย์ที่สัมพันธ์กับโรคฟันผุ ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2542.

8. โสพิศ วงศ์คำ เกษแก้ว เพียรทวีชัย พิสมัย เหล่าภัทรเกษม และคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องการศึกษาผลของสารสกัดข่อยต่อเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก. ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2538.

9. ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ อมร วัฒนธีรางกูร. พืชผักและสมุนไพร เพื่อสุขภาพในช่องปากที่ดี . วารสารทันตาภิบาล 2557; 25 (2): 91-2.

10 วารดิถี มังคลแสน. ผลของแกรนูลฟู่น้ำมันตะไคร้ต่อการยึดเการะของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์กับฟันเทียมอะคริลิกและการทดสอบทางคลินิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

11. สุรศักดิ์ โกมาลย์. การทดลองทางคลินิกของผลิตภัณฑ์แช่ฟันเทียมจากน้ำมันตะไคร้ในรูปแบบสารละลายเข้มข้นต่อการต้านเชื้อแคนดิดาบนฐานฟันเทียมอะคริลิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

12. ปานตา ตรีสุวรรณ. ผลของสารสกัดโพลิฟีนอลจากเปลือกมังคุดในรูปแบบตำรับเจลที่มีส่วนผสมของปาเปนต่อการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิเทนส์ ในห้องปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

13. เจริญ ชุณหกาญจน์ พลอยทราย บุศราคำ อังอร ศรีพานิชกุลชัยและคณะ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องความสัมฤทธิ์ของว่านหางจระเข้ในการรักษาโรคไลเคนแพลนนัสในช่องปาก. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

14. รสสุคนธ์ สุคนประดิษฐ์. การตั้งตำรับและการทดสอบความคงสภาพของเจลผักคราดหัวแหวนเพื่อใช้ในช่องปาก. วิทยานิพนธ์ เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีแภสัชกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

15. จันทร์ผล ผิวเรือง. ผลต่อเชื้อเสตร็ฟโตค็อกคัสมิวแทนส์ของสารสกัดสมุนไพรในวงศ์เหงือกปลาหมอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตกรรมทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

16. วชิราพร ปิ่นสุวรรณ. ผลของสารสกัดจากใบข่อยและน้ำมันตะไคร้ตัวการยังยั้งการสร้างไบโอฟิล์มใต้เหงือกในหลอดทดลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันต์วิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

17. อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ บังอร ศรีพานิชกุลชัย สุวิมล ทวีชัยศุภพงษ์และคณะ. รายงานวิจัยเรื่องฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคในช่องปาก. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

18. จิตรา ลิมทรง. ผลการยังยั้งของสารสกัดจากสมุนไพรบางชนิดต่อการยึดเกราะของเชื้อเสต็ฟโตคอคคัสมิวเทนส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.

19. อัญชนา สุนพรม. การพัฒนาตำรับเจลผสมสารสกัดจากใบข่อย เพื่อใช้ร่วมกับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบและการทดสอบความปลอดภัยทางคลินิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปริทันตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-24

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์ (Review article)