ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียน ของผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กวัยก่อนเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคลของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกและเพื่อศึกษาความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียน ของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาสมอแคลง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 39 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความรู้ของผู้ปกครอง เรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.71 สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษานำเสนอสองประเด็น คือด้านข้อมูลทั่วไป พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.05) ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง20-29 ปี (ร้อยละ 35.90) ส่วนใหญ่มีอาชีพ รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 38.46)มีระดับการศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 41.03) 2) ด้านระดับความรู้ พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.54) โดยข้อตำถามที่ตอบถูกมากที่สุดคือให้เด็กใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม (ร้อยละ 97.44) รองลงมาคือ ฟันน้ำนมจะช่วยรักษาช่องว่างของฟันแท้ให้ขึ้นมาตรงตามตำแหน่ง ร้อยละ (ร้อยละ 92.31) ควรแปรงฟันหรือตรวจทำความสะอาดช่องปากซ้ำให้เด็กทุกครั้งหลังเด็กแปรงฟันเสร็จแล้ว ร้อยละ (ร้อยละ 92.31) ฝึกเด็กดื่มนมจากแก้วหรือกล่องแทนนมจากขวดก่อนอายุ 1 ปีครึ่ง (ร้อยละ 92.3) รองลงมาคือ และตอบถูกน้อยที่สุดคือ ฟันผุเป็นรูชัดเจนมีอาการปวดฟันตลอดเวลาเป็นหนองที่ปลายรากฟันรักษาได้โดยการอุดฟัน(ร้อยละ 43.59) ผลการศึกษาความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียนร่วมกับทันตบุคลากร รวมถึงการให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียนอย่างต่อเนื่อง
References
2. Mink, J.R. Prevention of Space Loss, Dent Clin North Am 1965;9(4):703-10.
3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. เด็กไทยเสี่ยงฟันผุกว่า 1.2 ล้านซี่. สำนักงานกองทุนสนับนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรุงเพทฯ;2557.
4. โครงการผู้ปกครองใส่ใจหนูน้อยวัยใสฟันดี. รายงานผลการดำเนินโครงการผู้ปกครองใส่ใจหนูน้อยวัยใสฟันดี กองทุนสุขภาพตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก;2558.
5. นิตยา นิยมการ,นิรัตน์ อิมามี. ความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดุแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็ก ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารสุขศึกษา กันยายน-ธันวาคม 2554 ปี 34 เล่มที่ 119 หน้า 38-48.
6. นงนุช อาคาสุวรรณ. การศึกษาระดับความรู้ และการปฏิบัติเกี่ยวกับทันตสุขภาพของผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ในจังหวัดสงขลา. ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2542.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล