การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน, นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข  วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  จังหวัดขอนแก่น 2) ทราบถึงระดับความพร้อมก่อนทำงาน ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์(ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  จังหวัดขอนแก่น 3) ทราบปัญหาและแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปส่งเสริม และพัฒนาผู้เรียนในสถาบันการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  จังหวัดขอนแก่น   ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ชั้นปีที่ 4 จำนวน46 คนทำการเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายข้อมูลทั่วไปใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ และคะแนนเฉลี่ยกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานของนักศึกษาและสถิติไคสแควร์ (Chi-square test) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานของนักศึกษา

           ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 80.4 อายุเฉลี่ย 22 ปี (SD.=1.1) ต่ำสุด 21 ปีและสูงสุด 28 ปี คะแนนเฉลี่ยสะสมเฉลี่ย 3.20 (SD.=0.29) ต่ำสุด 2.5 และสูงสุด 3.78 วิธีการเรียนในขณะที่ศึกษาอยู่ส่วนใหญ่เข้าห้องเรียนสม่ำเสมอ ร้อยละ 93.5 จุดมุ่งหมายในชีวิตที่กำหนดไว้ส่วนใหญ่คือ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ร้อยละ 82.6 จุดมุ่งหมายในการทำงานส่วนใหญ่ระบุ มีความมั่นคงในการทำงาน ร้อยละ 80.4 สำหรับความคาดหวังในการทำงาน 5 อันดับแรก พบว่าอันดับแรกสุดที่ระบุไว้มากที่สุดคือ โอกาสความก้าวหน้าในการทำงานและรายได้ดี เหมาะสม มั่นคง ร้อยละ 19.6 อันดับที่สองที่ระบุไว้สูงสุด ได้แก่เพื่อนร่วมงานดี ร้อยละ 23.9 อันดับที่สามที่ระบุไว้สูงสุด ได้แก่หัวหน้าดี มีความยุติธรรม ร้อยละ 17.4 อันดับที่สี่ที่ระบุไว้สูงสุด คือเพื่อนร่วมงานดีและหัวหน้าดี มีความยุติธรรม ร้อยละ 17.4 และที่ส่วนใหญ่ระบุในอันดับที่ห้า ได้แก่ รายได้ดี เหมาะสม มั่นคง ร้อยละ 17.4 ระดับของการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยระบุว่ามีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับสูง จำนวน 34 คน ร้อยละ 73.9 รองลงมาคือระดับปานกลาง จำนวน 12 คน ร้อยละ 26.1 ตามลำดับเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความสามารถเฉพาะสาขาอยู่ในระดับสูง และในด้านการปฏิบัติงานและพัฒนาวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของด้านบุคลิกภาพพบว่าทั้งในส่วนของการปฏิบัติงาน ทางสังคม ด้านอารมณ์และด้านสุขภาพร่างกายล้วนอยู่ในระดับสูง

Author Biographies

อภิญญา ยุทธชาวิทย์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

Senior Professional Dentist, Sirindhorn College of Public Health, KhonKaen Province

วีระชาติ ยุทธชาวิทย์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

Dentist, Senior Professional Level, Sirindhorn College of Public Health, Khon Kaen Province

References

1. นุชจรินทร์ โลหะปาน. การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ 2558; 6(1) มกราคม-มิถุนายน:1-11.

2. ศุภภิญญาจันทรศารทูล. ศักยภาพของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานในการตอบสนองความต้องการแรงงานของประเทศไทย วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2533.

3. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาทันตสาธารณสุข หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554.

4. Best, John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs,New Jersey: Prentice Hall, Inc.;1977:174.

5. Nunnally, J. C. Psychometric theory. 2nd edition. New York: McGraw-Hill;1978.

6. เบญจพร วชิรศรีสุนทรา. การเตรียมพร้อมเพื่อการมีงานทำของนักศึกษาธรรมศาสตร์ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)