ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมารับบริการทางทันตกรรมของ ผู้สูงอายุ 60-74 ปี ใน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกอร โพธิ์ศรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • จีรานันท์ วิทยาไพโรจน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การมารับบริการทางทันตกรรม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

            ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และความสำเร็จในงานสาธารณสุขได้ส่งผลทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสุขภาพช่องปากถือว่ามีความสัมพันธ์ต่อสุขภาพกายและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในหลายด้านการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุที่มีอายุ60-74 ปี ที่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น   จำนวน 480 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบอย่างมีระบบ  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการทางทันตกรรมด้วยสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก (Multiple Logistic Regression)นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted Odds Ratio(OR) และค่าช่วงเชื่อมั่น 95% ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.9  มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 67.1 ปี (sd=4.7 ปี)   ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะภาพสมรส ร้อยละ 66.3   กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาสูงสุดคือระดับชั้นประถมศึกษาร้อยละ 75.2  โดยไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ ร้อยละ41.5 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 73.5  จากการศึกษาพบอัตราการมารับบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 32.08   ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60-74 ปีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่ อายุ(ORadj=1.96,95%CI[1.25,3.10]), ที่อยู่อาศัย(ในเขตหรือนอกเขตเทศบาล)  (ORadj=2.20,95%CI[1.45,3.37]) และ การเคยได้รับความรู้ทางทันตสุขภาพ (ORadj=4.12,95%CI[2.70,6.29]) 

             พบว่ามีผู้สูงอายุเพียงบางส่วนเท่านั้นที่มารับการรักษาทางทันตกรรมซึ่งควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมารับบริการทางทันตกรรมเป็นประจำในสถานบริการที่สะดวกและส่งเสริมให้ทันตบุคลากรได้ให้ความรู้ทางทันตสุขภาพในเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุ

Author Biography

กนกอร โพธิ์ศรี, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ทันตแพทย์ชำนาญการ

References

1.ธิดา รัตนวิไลศักดิ์.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ].กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์;2554.

2.กนกอร โพธิ์ศรี.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุที่มีอายุช่วง 60-74 ปี ในเขตและนอกเขตเทศบาลนครขอนแก่นอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารทันตาภิบาล.2558;26(2):73–86.

3.สำนักงานสถิติแห่งชาติ.ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559 [ออนไลน์] 2560 [อ้าง
เมื่อ 1 ตุลาคม 2560]. จาก: https://www.dop.go.th/th/know/1/51

4.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2556.

5. Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculator for linear and logistic regression.Stat Med 1998;17(14):1623-34.

6.Cláudia de Oliveira Ferreira, José Leopoldo Ferreira Antunes,FabiolaBof de Andrade. Factors associated with the use of dental services by elderly Brazilians.RevSaúdePública 2013;47(Supl 3):1-7.

7. Adams C, Slack-Smith L, Larson A, O’Grady M. Dental visits in older Western Australians: a comparison of urban, rural and remote residents. Aust J Rural Health 2004 Aug; 12(4):143–9.

8. De Oliveira TC, da Silva DA, Leite de Freitas YN, da Silva RL, Pegado CP de C, de Lima KC. Socio-demographic factors and oral health conditions in the elderly: a population-based study.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)