การขึ้นของฟันกรามแท้ซี่แรกในเด็กอายุ 6 ปี อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ญาณี ใจแก้ว โรงพยาบาลม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การขึ้นของฟัน, ฟันกรามแท้ซี่แรก, เด็ก

บทคัดย่อ

      การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อลดโรคฟันแท้ผุในเด็ก 6 ปีควรเริ่มเมื่อฟันแท้ขึ้นเต็มซี่ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขึ้นของฟันกรามแท้ซี่แรกในเด็กอายุ 6 ปี อำเภอม่วงสามสิบจังหวัดอุบลราชธานี โดยเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ได้รับการปรับมาตรฐาน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม 2560 ผลการศึกษาพบการขึ้นของฟันกรามแท้ซี่แรกร้อยละ 71.5 จำนวนฟันกรามแท้ซี่แรกที่ขึ้นเฉลี่ย  2.3 ± 1.71 ซี่/คน โดยในกลุ่มเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้นร้อยละ 74.8 ในกลุ่มเด็กอนุบาล 2 พบร้อยละ 50.0  ฟันกรามแท้ซี่แรกด้านขวาล่างพบขึ้นมากที่สุดใกล้เคียงกับฟันกรามแท้ซี่แรกด้านซ้ายล่าง รองลงมาคือ ฟันกรามแท้ซี่แรกด้านขวาบนและซ้ายบนตามลำดับ (ร้อยละ 60.5 60.2 55.0 และ54.1)      

Author Biography

ญาณี ใจแก้ว, โรงพยาบาลม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ทันตแพทย์ช านาญการพิเศษ

References

1.Zenkner JEA, AlvesL S, de Olivira RS, Bica RH, Wagner MB, Maltz M. Influence of Eruption Stage and Biofilm Accumulation on Occlusal Caries in Permanent Molar: A Generalized Estimating Equations Logistic Approach. Caries Res 2013;47:177-182.

2.Mejare I, Axelsson S, Dahlen G, Espelid I, Norlund A, Tranaeus S, Twetman S. Caries risk assessment. A systemic review. ActaOdontologicaScandinavica 2014;72:81-91.

3.ทิวา ม่วงเหมือน. การขึ้นและการผุของฟันกรามแท้ซี่แรกของเด็กตำบลบ้านกลาง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. ว.ทันต.สธ 2557;19:9-20.

4.Khan N. Eruption Time of Permanent Teeth in Pakistani Children. Iranian J Publ Health 2011;40:63-73.

5.Ekstrand KR, Christiansen J, Christiansen MEC. Time and duration of eruption of first and second permanent molars: a longitudinal investigation. Community Dent Oral Epidermiol 2003;31:344-50.

6.บุญเอื้อ ยงวานิชากร. การกำหนดเป้าหมายทันตสุขภาพประเทศไทย 2563. ว.ทันต.สธ 2552;14:38-48.

7.เมธ์ ชวนคุณาการ. การป้องกันฟันผุ Caries Prevention; Current Strategies,NewDirrections. ว.ทันต.สธ 2540;2:70-78.

8.โคสิต อบสุวรรณ. ประสิทธิผลของงานเคลือบหลุมร่องฟันในโครงการยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี. ว.ทันต.สธ 2551;13:52-62.

9.วิราภา จิระพงษา ปิยะดา ประเสริฐสม. การประเมินผลโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “ยิ้มสดใส เด็กไทยแข็งแรง” ปีการศึกษา 2548-2550. ว.ทันต.สธ 2551;13:85-96.

10.จิรวรรณ อาระยะพงษ์ และคณะ.แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก ( Oral health service plan).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย จำกัด;2556.

11. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการนิเทศและตรวจราชการงานทันตสาธารณสุขปีงบประมาณ2560[monograph on the Internet].นนทบุรี;2560[cited2018March 18].
Availablefrom:https://dental.anamai.moph.go.th/dental/uploadfile/MonitoringGuidelines.PDF
12. ปรินดา จรุไพรวัลย์.การขึ้นของฟันถาวรในเด็ก 4-12 ปี ที่มารับการรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล,ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก, มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย;2543.

13. Shaweesh AI. Timing and sequence of emergence of permanent teeth in the Jordanian population. ARCHIVES OF ORAL BIOLOGY 2012;57:122-130.

14. Ogodescu AE, Tudor A, Szabo K, Daescu C, Bratu E, Ogodescu A. Up –to date standards of permanent tooth eruption in Romanian children. Jurnalul Pediatrului 2011;14:10-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)