การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ประกันตนเชิงรุก อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
สุขภาพช่องปากผู้ประกันตน, สร้างเสริมสุขภาพช่องปากเชิงรุก, ทันตกรรมเชิงรุกผู้ประกันตน, การวิจัยเชิงปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ประกันตนเชิงรุกอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เก็บข้อมูลตุลาคม 2560 - มีนาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกันตน ผู้บริหารสถานประกอบการ ทันตแพทย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และเจ้าหน้าที่ระบบผู้ประกันตน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและการสังเกต ขั้นตอนการศึกษา คือ 1)ศึกษาบริบทและวิเคราะห์ปัญหา 2)จัดระบบบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลให้เอื้อต่อผู้ประกันตน 3)การจัดบริการ ทันตกรรมเชิงรุกในสถานประกอบการ 4)ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ประกันตน 5)สรุปปัญหาและแนวทางแก้ไข ผลการศึกษา โรงพยาบาลมีระบบและแนวทางดูแลสุขภาพช่องปากผู้ประกันตนในสถานประกอบการด้วยการให้ทันตสุขศึกษาผ่าน QR code การตรวจสุขภาพช่องปากและให้บริการทันตกรรม บริการในโรงพยาบาลพบว่าผู้ประกันตนเข้าถึงบริการทันตกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ค่าบริการทันตกรรมเชิงรุกเฉลี่ยต่อคน 754 บาท ค่าบริการรักษาช่องปากทั้งหมดเฉลี่ยต่อคน 1,666 บาท ผู้ประกันตนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้บริการทันต กรรมเชิงรุก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งขั้นตอน ระยะเวลา บุคลากร ระบบเบิกจ่ายและราคาเหมาะสมข้อเสนอแนะคือ เพิ่มช่องทางการให้บริการทางโทรศัพท์ และกลุ่มไลน์แยกประเภทสถานบริการหรือตามพื้นที่ หรือจัดระบบสายด่วนประกันสังคมทันตกรรมอุบลฯเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร การพัฒนาระบบดูแลสุขภาพช่องปากผู้ประกันตนครั้งนี้ทำให้ผู้ประกันตนได้รับบริการที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม และการรับบริการทันตกรรมที่ครอบคลุมปัญหาช่องปาก ผู้ประกันตนพึงพอใจต่อรูปแบบการให้บริการ และเพิ่มช่องทางรายรับจากการให้บริการทางทันตกรรมเชิงรุกให้กับโรงพยาบาล
References
2. วีระศักดิ์ พุทธาศรี, ชุติมา อรรคลีพันธุ์, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร.การปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรมกองทุนประกันสังคม.ว.วิชาการสาธารณสุข 2548;14:776-89.
3. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประ โยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113, ตอนพิเศษ105ง (ลงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2559).
4. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533 เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประ โยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน.ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนพิเศษ175ง (ลงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2559).
5. มติชนออนไลน์.ประกันสังคมให้ทำฟัน 900 บาทแบบไร้เงื่อนไขคิดราคาตามจริงไม่ต้องสำรองจ่าย 78 แห่ง.[homepage on the Internet].2559[อ้างเมื่อ 15 มีนาคม2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.manager.co.th/ QOL/ ViewNews. aspx?NewsID=9590000092513
6. สำนักงานประกันสังคม.กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดฟันคุด และใส่ฟันเทียม)[homepage on the Internet].2559[อ้างเมื่อ 10 มีนาคม2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.sso.go.th/wpr/ main/service/ กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_0/24
7. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2556.
8. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติงานประกันสังคม 2558.กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคมี พรินติ้ง จำกัด;2559.
9. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติงานประกันสังคม 2550.กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายสถิติและรายงาน กองวิจัยและพัฒนา;2551.
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. สรุปผลการดำเนินงานทันตสาธารณสุขประจำปี 2550.นนทบุรี: ฝ่ายทันตสาธารณสุข;2551.
11. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรม“3 กองทุนสุขภาพ” รับความท้าทายในอนาคต.จุลสาร HSRI Forum 2555;1:3-7.
12. วัฒนะ ศรีวัฒนา.การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ประกันตนในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2558.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(2):400 –08.
13. Vanessa Muirhead, Carlos Quioñez, Rafael Figueiredo, David Locker. Oral health disparities and food insecurity in working poor .Canadians.CDOE 2009; 37(4):294-304.
14. Wang Hong-Ying, Poul Erik Petersen. The second national survey of oral health status of children and adults in China. IDJ 2002; 52(4):283-290.
15. Benoît Varenne, Poul Erik Petersen. Oral health status of children and adults in urban and rural of Burkina Faso,Africa.IDJ 2004;54(2):83-89.
16. Tiller S, Wilson KI, Gallagher JE. Oral health status and dental service use of adults with learning disabilities living in residential institutions and in the community.CDH 2001;18(3):167-171.
17. สุนีย์ วงศ์คงคาเทพ. การใช้บริการสุขภาพช่องปากของกลุ่มวัยทำงานไทยปี 2556. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2558; 9(2):125-135.
18. วรารัตน์ ใจชื่น. หลักประกันสุขภาพกับการใช้บริการสุขภาพช่องปากในวัยทำงาน.ว.วิจัยระบบสาธารณสุข 2559;10 (1):3-16.
19. Mahmood Moosazadeh, Mohammadreza Amiresmaili, Sara Karimi, Mahboobeh Arabpoor, Mahdi Afshari. Appraisal of access to dental service in South East of Iran using five AS Model. JAMSBH 2016;28(3):196-200.
20. ศิริรัตน์ ศิริมาศ. ทัศนคติในการใช้บริการทันตกรรมของผู้ประกันตนโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนนทบุรี.พุทธชินราชเวชสาร 2554;28(1):60-68.
21. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ[homepage on the Internet]. รายงานประจำปีกลุ่มงานทันตสาธารณ สุขภายใต้กองทุนทันตกรรมปีงบประมาณ 2553. 2554 [อ้างเมื่อ 10 เมษายน 2561] จาก: https://samutpra
karndent.files.wordpress.com/2012/05/e0b8aae0b8a3e0b8b8e0b89be0b8a3e0b8b2e0b8a2e0b887e0b8b2e0b899e 0b89be0b8a3e0b8b0e0b888e0b8b3e0b89be0b8b52553-11.pdf
22.ณัฐวุฒิ พูลทอง. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโนนสง่า ตำบลซาง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ.ว.ทันตาภิบาล 2559;27(2):53-67.
23.ขวัญจิตร ชมพูวิเศษ. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมสำหรับชมรมผู้สูงอายุ ตำบลเหล่าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. ว.การพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2559;18(2):36-46.
24. สราพร คูห์ศรีวินิจ, อภัสรดา กาญจนพัฒนกุล, ภฑิตา ภูริเดช. การใช้บริการทางทันตกรรมและความพึงพอใจต่อสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมในโครงการประกันสังคม:เปรียบเทียบปีพ.ศ.2548และพ.ศ.2549.ว.ทันตแพทยศาสตร์ 2552;59:39-50.
25. เพ็ญแข ลาภยิ่ง, วีระศักดิ์ พุทธาศรี. การใช้บริการสุขภาพช่องปากในทศวรรษแรกของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย.ว.วิชาการสาธารณสุข 2556; 22:1080-90.
26. Feldstein PJ. Health care economics. 5th ed. Albany,NY:Delmar Publishing;1999.
27. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ [homepage on the Internet] การใช้อย่างบิดเบือน (Moral Hazard) ในระบบบัตรทองของไทย.2554 [อ้างเมื่อ 10 เมษายน 2561] จาก:.https://www.manager.co.th/Daily/ ViewNews. aspx?NewsID =96000 00059641
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล