แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ภาคีเครือข่าย, การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมทันตสุขภาพบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มุ่งเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข และสถานการณ์การส่งเสริมสุขภาพงานทันตกรรมที่ยังคงเป็นปัญหากับสังคมไทย ซึ่งการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข เป็นปัจจัยสำคัญตอบสนองความต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยเฉพาะประชาชนในชุมชนเองต้องเข้ามามีส่วนร่วมกันอย่างจริงจังและให้ความสำคัญต่อสุขภาพช่องปาก
แนวทางการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข ประกอบด้วย 1) การสอนและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประชาชนในชุมชนและเจ้าหน้าที่โดยยึดหลักกลยุทธ์การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุขตามหลักของกฎบัตรออตาวา(Ottawa Charter) 2) กระบวนการหาความต้องการของชุมชนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมงานทันตสาธารณสุข ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล 3) การจัดโครงการ/กิจกรรมทันตสาธารณสุขโดยเกิดจากความต้องการของชุมชนเองและชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ ถ้าเกินขีดความสามารถของชุมชน 4) การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 5) การประเมินสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก ได้แก่ การประเมินสุขภาพช่องปาก/ความสนใจหรือ จำนวนการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เป็นต้น และ 6) การขยายแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพงานทันตสาธารณสุข ไปยังชุมชนอื่นโดยเกิดจากความต้องการของชุมชนนั้นๆ
References
2.Donev,D., Pavlekovic, G., Kragelj,L.Z. Health Promotion and Disease Prevention. Germany:Hans Jacobs Publishing Company;2007.
3.กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 6 ประเทศไทย พ.ศ. 2549-2550. โรงพิมพ์สำนักกิจการองค์การทหารผ่านศึกษา;2551
4.Resine ST, Fertig J, Weber J, Leder S. Impact of dental conditions on patients’ quality of life. Community Dent Oral Epidermal 1989;17:7-10.
5.เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก. เศรษศาสตร์บริการสุขภาพช่องปาก. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2554.
6.เพ็ญแข ลาภยิ่งและเสกสรร พวกอินแสง. ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์สุขภาพช่องปากแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 สำนักทันตสาธารณสุข 2555.
7.สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานบุคลากรด้านทันตสาธารณสุข ประจำปี 2555 เอกสารอัดสำเนา;2555.
8.เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ, ปนัดดา ปริยฑฤฆ และญาณิศา โชติกะคาม. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลมาบแค.วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2555;28(1):8-17.
9.ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราชและเนติยา แจ่มทิม.(2559).การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3):15–45.
10.International Association for Public Participation.IPA2 Spectrum of Public Participation.2007 [cited 2016 Nov 22]. Available from: www.iap2.org/associations/4748/files/spectrum.pdf.
11.World Health Organization. Four definitions of health promotion and education. 1986. [cited 2016 Nov 10]. Available from: https://www.csupomona.edu/jvgrizzell/best_Practices/ definehp.htm
12.World Health Organization. Ottawa Charter for Health Promotion. First International Conference on Health Promotion,Ottawa,21 November 1986. [cited 2016 Nov 7]. Available from: https://www.who.int/hpr/NPH/docs/ottawa_charter_hp.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล