การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กชปิญา ผดุงพันธ์ สาขาวิชาสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม ในการกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพงและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 30 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้  แบบสอบถามด้านความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก การปฏิบัติของผู้ปกครองในการดูสุขภาพช่องปากของเด็กและความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ปกครอง แบบประเมินสภาวะอนามัยช่องปาก แบบสังเกตและแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกันข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน  รูปแบบใหม่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในชุมชนเป็นกลไกเชื่อมโยงการปฏิบัติงานกับคนในชุมชน เกิดการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพช่องปากในชุมชนอย่างต่อเนื่องนอกจากนั้นยังพบว่าผลลัพธ์เชิงปริมาณใน กระบวนการนี้ส่งผลให้ความรู้ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ความพึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ปกครอง และสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนดำเนินการพัฒนา ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย คือ 1) การมีส่วนร่วมในชุมชน 2) ภาคีเครือข่ายในชุมชน3) การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนมากขึ้น

References

1.ทิพธิรา คำแก้ว. สภาวะฟันผุ อนามัยช่องปาก และพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากโดยมารดาของเด็กอายุ 2-3 ปี อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2550.

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนแพง. รายงานสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนทอ.3 ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ตำบลโพนแพงอำเภอรัตนวาปีจังหวัดหนองคาย.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนแพง;2556.

3. ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยกใช้กระบวนการ AIC: กรณีศึกษาชุมชนในตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา;2552.

4. ปรียานุช เพียยุระ.ผลของโปรแกรมสุขศึกษา โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ปกครองต่อการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลว้านเป้า อำเภอบ้านใผ่ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
5. จันทร์เพ็ญเกสรราช, นิรวุรรณ เทรินโบล์และสุพัตราวัฒนเสน.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2557.

6. เฉลิมวิทย์หาชื่น.การรับรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุและการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)