การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพช่องปาก อำเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์ (ปี2560-2561) ตามกรอบแนวคิด six building blocks

ผู้แต่ง

  • สุปรียา เครือสาร โรงพยาบาลหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

6 เสาหลักของระบบสุขภาพ, ระบบบริการสุขภาพช่องปาก

บทคัดย่อ

       การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)เพิ่มอัตราเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากและลดระยะเวลาการรอคอย (2)ลดโรคฟันผุในกลุ่มเด็ก3ปี  และ 12ปี (3) เพิ่มศักยภาพบริการทันตกรรมเฉพาะทาง (4) เพิ่มประสิทธิภาพระบบสนับสนุนด้านวัสดุและงบประมาณ  โดยใช้แนวคิด  6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ในเรื่อง ระบบการให้บริการ  กำลังคนด้านสุขภาพระบบข้อมูลและสารสนเทศเทคโนโลยีทางการแพทย์ การเงิน/ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ  ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล  มาบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพช่องปากของอำเภอหล่มสักโดยการเก็บข้อมูลในโปรแกรม Hospital OSโปรแกรมบริหารจัดการ การเงินการคลังวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา

      ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากมีเพิ่มขึ้นโดยรพ.สต.ให้บริการสุขภาพช่องปากที่มีคุณภาพ ครบ 2องค์ประกอบมีแนวโน้มที่ดีขึ้นและผ่านเกณฑ์ ในปี 2561  คิดเป็นร้อยละ63.64ร้อยละของผู้เข้ารับบริการฟันเทียมและรักษารากฟัน ที่รอคิวนานเกิน 6 เดือน มีแนวโน้มที่ลดลง ร้อยละเด็กอายุ 3ปี ปราศจากฟันผุ ปี 2560 และ 2561 ผ่านเกณฑ์กำหนดคิดเป็นร้อยละ 60.19   68.03  ตามลำดับ  ในกลุ่มอายุ 12ปี ปราศจากฟันผุ คิดเป็นร้อยละ  59.54 และ 63.43  ตามลำดับ การเพิ่มศักยภาพบริการทันตกรรมเฉพาะทางของหน่วยบริการในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ พบว่ามีการส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมจัดฟันจากโรงพยาบาลใกล้เคียงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นระบบสนับสนุนด้านวัสดุทันตกรรมและงบประมาณในการจัดทำโครงการ ในปี 2560และ 2561 จำนวนอุบัติการณ์ความไม่ทันเวลาในการสนับสนุนครุภัณฑ์และวัสดุทันตกรรมให้กับรพ.สต.มีแนวโน้มที่ลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

References

1. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (CSO) เขตสุขภาพที่ 2 . สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เขต 2 ปีงบประมาณ 2558. พิษณุโลก;2558.

2. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (CSO) เขตสุขภาพที่ 8. สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เขต 8ปีงบประมาณ 2558. อุดรธานี;2558.

3. World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook ofIndicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Servicves; 2007.

4. World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook ofIndicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Servicves; 2010.

5.ชลทิศ อุไรฤกษกุล.ทบทวนวรรณกรรม Health System Governance [cited 2012 Aug 22].Available from:http://hpc5.anamai.moph.go.th/director/data/aug 2012/healthSystemGovernance.pdf

6.สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ.เอกสารหลักประกอบการพิจารณามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8พ.ศ.2558 ระบบสุขภาพเขตเมือง: การพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม.2558

7.World Health Organization. Health Systems Framework [cited2018Nov 20].Available from:http://www.wpro.who.int/health_services/health_systems_framework/en/

8. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก (Oral health service plan)พ.ศ.2556-2559.นนทบุรี;2556.

9. นัฐวัฒนา นิพพากากร. การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) .เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรฝึกอบรม ผู้อํานวยการโครงการ รุ่นที่ 10.กรุงเทพฯ ;2557.

10. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการ ปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี;2559.

11. บุญชัย กิจสนาโยธิน.การจัดการระบบสารสนเทศโรงพยาบาล. ประมวลสาระชุดวิชา หน่วยที่ 6-10 การจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล .นนทบุรี;มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช;2555.

12. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์.รายงานผลการดำเนินงานบริการสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด.เพชรบูรณ์ :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์;2560.

13. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์.รายงานผลการดำเนินงานบริการสุขภาพช่องปากระดับจังหวัด.เพชรบูรณ์ :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์;2561.

14. เอกพงศ์ เกยงค์. โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก อำเภอคีรีมาศ ปีงบประมาณ 2558.สุโขทัย;2558.

15. มณฑกานติ์ สีหะวงษ์.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปาก จังหวัดเพชรบูรณ์2556-2560.เพชรบูรณ์;2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)