การสังเคราะห์งานวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น: การทบทวนแบบมีขอบเขต

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วัฒนเสน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การทบทวนขอบเขต, สังเคราะห์งานวิจัย, การตีพิมพ์เผยแพร่

บทคัดย่อ

          การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านสาระของการวิจัย (Substantive) ได้แก่ ประเด็นการวิจัย ตัวแปรตามคุณลักษณะงานวิจัย ประโยชน์ในการนำไปใช้และศึกษาด้านวิธีการวิจัย (Methodological) ได้แก่ แบบแผน
การวิจัย ประชากรเป้าหมาย ในการวิจัยใช้การสังเคราะห์งานวิจัยแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบแบบมีขอบเขต (Scoping review) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ 

          ผลการศึกษาจากงานวิจัยของวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550-2559 จากจำนวนงานวิจัยทั้งหมด 208 เรื่องพบว่า
1) ด้านสาระของการวิจัย ลักษณะงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในชุมชน ร้อยละ 27.6  รองลงมาเป็นการวิจัยการเรียนการสอนร้อยละ 24.6 โดยเป็นงานวิจัยที่ใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงร้อยละ 12.5 ส่วนประเด็นวิจัยที่ตามสาขาในระบบบริการสุขภาพเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาสุขภาพช่องปากมากที่สุดร้อยละ 24.1 ประเด็นงานวิจัยตามการดูแลที่จำเป็นเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากที่สุด ร้อยละ 45.4 เนื้อหางานวิจัยหนึ่งในสามเป็นรายงานวิจัยของสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน (ร้อยละ 31.7) มีการเผยแพร่งานวิจัยทางห้องสมุด ร้อยละ 76.6 งานวิจัยส่วนใหญ่มีการนำไปผลการวิจัยใช้ประโยชน์ ในเชิงสาธารณะ ร้อยละ 41.3 ทุนวิจัยที่ได้รับได้จากภายในสถาบันพระบรมราชชนก ร้อยละ 81.9  2) ด้านวิธีวิจัย รูปแบบของงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ร้อยละ 33.7  ประชากรเป้าหมายในการวิจัย
ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ร้อยละ 29.0

             งานวิจัยของวิทยาลัยฯ ควรมีการวิจัยและพัฒนา การสร้างองค์ความรู้ทางด้านนวตกรรม/สิ่งประดิษฐ์/งานสร้างสรรค์ มากขึ้น นอกเหนือจากด้านการเรียนการสอนและควรสนับสนุนให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยทางวารสารทั้งในประเทศและระดับนานาชาติมากขึ้น

References

1. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ . ยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 1 กันยายน 2560.] จาก https://www.thailibrary.in.th/wp- content/uploads/2014/07/NRCT-Strategy55-59.pdf
2. ประณีต ส่งวัฒนา. สถานภาพและทิศทางการวิจัยทางการพยาบาล: มุมมองจากประสบการณ์ Princes of Naradhiwas University Journal. 2552; 1:1-7.
3. รัตนะ บัวสนธ์. การสังเคราะห์งานวิจัยแบบผสานวิธี. พิษณุโลก: ก๊อปปี้; 2556.
4. นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์อภิมาน (Meta- analysis). กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป; 2542.
5. ภัทรพร มูลแจ๋ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ: การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
6. Brien SE, Lorenzetti DL, Lewis S, Kennedy J, Ghali WA. Overview of a formal scoping review on health system report cards. Implementation Science 5:2; 2010.
7. โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ วีระศักดิ์ พุทธาศรี. โปรแกรมทางสังคมและสาธารณสุขเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนที่บกพร่องทางสติปัญญาบกพร่องทางการเรียนรู้หรือกลุ่มอาการออทิสติก: การทบทวนวรรณกรรมเป็นระบบแบบมีขอบเขต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(4): 799- 816.
8. Mays N, Roberts E, Popay J. Synthesising research evidence. In Fulop N, Allen P, Clarke A, Black N, editors, Methods for studying the delivery and organisation of health services. London: Routledge; 2001.
9. ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์. การสังเคราะห์งานวิจัย ในปีการศึกษา 2551 ของบุคลากรในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2553.
10. ปัทมา ผ่องศิริ และคณะ. การสังเคราะห์งานวิจัยของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก:
การทบทวนวรรณกรรมแบบมีขอบเขต [รายงานการวิจัย]. อุบลราชธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์; 2560.
11. Burns, N. and Grove, S.K. The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence. 6th ed. St. Louis, Missouri: Saunders; 2009.
12. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก; 2554.
13. ยุพิน บุญชูวงศ์. ข่าวสารวิชาการประจำเดือนเมษายน 2556. หน่วยทะเบียนและพัฒนาวิชาการ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
14. ไพศาล สุวรรณน้อย. (มปป.) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL) เอกสารประกอบการบรรยาย [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 22 กรกฎาคม 2560.] จาก https://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.
15. สำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2554-2558 . กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2554.
16. กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ; 2555.
17. อัศนี วันชัย. การทบทวนงานวิจัยนของอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชะนีพุทธชินราช. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2560;23(2): 26-37.
18. สุชาดา ไม้สนธิ์และคณะ. การสังเคราะห์งานวิจัยกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีพ.ศ. 2548-2554. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2554.
19. งานวิจัยและเผยแพร่ คณะศิลปะศาสตร์. การสังเคราะห์งานวิจัยคณะศิลปศาสตร์ ที่ได้รับการเผยแพร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. มหาสารคาม: สถาบันพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)