การศึกษาสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข สังกัดสถาบันพระบรมราชนก

ผู้แต่ง

  • ทศพล แอนโก นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ไพรวรินทร์ ทิพย์พิมพ์วงศ์ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศิริยุทธ ยิ่งใหญ่ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภคิน ไชยช่วย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์ วิทยาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะของนักศึกษา, หลักสูตรสาธารณสุขศาตรบัณฑิต, สาขาวิชา ทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาระดับสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุข  ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น, จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดชลบุรี และจังหวัดตรัง จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสมรรถนะ และปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของนักศึกษา การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเท่ากับ 0.92 และการตรวจสอบด้านความเที่ยง (Reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข อยู่ในระดับที่สูง ( = 4.13 และ S.D. = .43),  ข้อมูลส่วนบุคคล  พบว่า   เพศไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถของนักศึกษา, อายุไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษา,  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษา, สถานศึกษามีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษา, ภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษา, ศาสนาไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของนักศึกษา, ปัจจัยด้านเจตคติต่อหลักสูตรพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.45, p = .00), ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถาบัน พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.41,  p = .00) และปัจจัยด้านกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีความ สัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.61, p = .00)

References

เนติมา คูนีย์. การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อ.นนทบุรี: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด; 2557.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2550. [ออนไลน์ ] 2550 [อ้างเมื่อ 3 ตุลาคม 2561] จาก http://planning.anamai.moph.go.th/download /D_DataMarts/Stat/health_statistic2550.pdf

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข หลักสูตรหลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555. [ออนไลน์] 2555 [อ้างเมื่อ 1 ตุลาคม 2561] จากhttp//www. http://scphub.ac.th/?page_id=1430

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาสถิติและประชากร ศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.

Best, John. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1989.

Tepprasit, P. & Yuvanont, P. The Impact of Logistics Management on Reverse Logisticsin Thailand’s Electronics Industry. International Journal of Business and Information; 2015

รัตนา ทรัพย์บำเรอ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์; 2559.

จันทนา อิสลาม, ชุติมา รักษ์บางแหลมเเละธมลวรรณ แก้วกระจก . ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2545 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2550.

อรพิน สีขาว, ชนิกา เจริญจิตต์กุล เเละ กัญญา สุวรรณคีรีขันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมของสถาบัน ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองกับสมรรถนะด้านความรู้เชิงวิชาชีพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพรเกียรติ. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2550.

ภารณี เชาวสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล และสภาพแวดล้อมของสถาบัน กับสมรรถนะเชิงวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ พย.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)